ดวงตาเห็นธรรม 4
พระอาจารย์เมธา ชาตเมโธ
ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม เรียกเป็นบุคคลว่า พระโสดาบัน คำว่า โสดา แปลว่ากระแส บัน แปลว่าคน หรือบุคคล แปลเต็มว่า บุคคลผู้เข้ากระแส กระแสอะไร? ประพฤติพรหมจรรย์คือการทำจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลส ก็ต้องเป็นกระแสนิพพาน ซึ่งเป็นก้าวแรกของพระอริยบุคคล ๔ จำพวก ในพุทธศาสนาคือ ๑. พระโสดาบัน ๒. พระสกทาคามี ๓. พระอนาคามี ๔. พระอรหันต์ ซึ่งเป็นโลกุตรภูมิ ซึ่งมีอยู่ในบทสวดมนต์พระสังฆคุณ ว่า “จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุลิสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวกสังโฆ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า” พระอริยบุคคลทั้ง ๔ จำพวก เป็นผู้อยู่ในโลกกุตรภูมิ เป็นผู้สามารถข้ามโคตรภู (Lineage of change) ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างโลกียภูมิ และโลกุตรภูมิได้แล้ว เข้ากระแสแล้วไม่ต้องกลับมาเป็นปุถุชนอีกต่อไป
อะไรเป็นเครื่องจำแนกพระอริยบุคคล?
ตอบ สังโยชน์๑๐ แปลว่าเครื่องร้อยรัดให้กิเลสติดอยู่กับจิตมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ เห็นผิดในเรื่องการเกิดที่เป็นทุกข์
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ
๓. สีลัพพตปรามาส ปฏิบัติดับทุกข์ในทางผิด
๔. กามราคะ ความกำหนัดในกาม
๕. ปฏิฆะ ความขัดเคืองไม่พอใจ
๖. รูปราคะ ความกำหนัดยินดีในรูปธรรม
๗. อรูปราคะ ความกำหนัดยินดีในอรูธรรม
๘. มานะ ความสำคัญตนเปรียบเทียบผู้อื่น
๙. อุทธัจจะ ความหวั่นไหวของจิตเมื่อกระทบอารมณ์
๑๐. อวิชชา ความไม่หมดจดจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
อะไรเป็นเครื่องจำแนกพระอริยบุคคล?
ตอบ สังโยชน์๑๐ แปลว่าเครื่องร้อยรัดให้กิเลสติดอยู่กับจิตมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ เห็นผิดในเรื่องการเกิดที่เป็นทุกข์
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ
๓. สีลัพพตปรามาส ปฏิบัติดับทุกข์ในทางผิด
๔. กามราคะ ความกำหนัดในกาม
๕. ปฏิฆะ ความขัดเคืองไม่พอใจ
๖. รูปราคะ ความกำหนัดยินดีในรูปธรรม
๗. อรูปราคะ ความกำหนัดยินดีในอรูธรรม
๘. มานะ ความสำคัญตนเปรียบเทียบผู้อื่น
๙. อุทธัจจะ ความหวั่นไหวของจิตเมื่อกระทบอารมณ์
๑๐. อวิชชา ความไม่หมดจดจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
รอยพระบาทยาตราคือจารึก
ปลุกสำนึกให้ตื่นจากหลับใหล
ทรงชี้ทางบรรเทาทุกข์ชี้สุขใจ
เหตุไฉนเราจึงเพลินไม่เดินตาม
(เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
“การศึกษาไม่ใช่การเรียนๆ ท่องๆ แต่เป็นการทำความเห็นให้ถูกต้องอย่างสมบูรณ์ด้วยตัวเอง”
(พุทธทาสภิกขุ)
๑.สักกายทิฏฐิ พระโสดาบัน
๒.วิจิกิจฉา ละได้หมด ๓ ข้อ
๓.สีลัพพตปรามาส พระอนาคามี
๔.กามราคะ พระสกิทาคามี ละได้หมด ๕ข้อ
๕.ปฏิฆะ ละได้หมด ๓ ข้อ
และทำข้อ ๔ - ๕ ได้ให้เบาบาง พระอรหันต์
๖.รูปราคะ ละได้หมด
๗.อรูปราคะ ๑๐ ข้อ
๘.มานะ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ข้อ
๙.อุทธัจจะ
๑๐.อวิชชา (ตรงนี้ต้องมีปีกกาด้วยช่างพิมพ์ดูแบบจากโลกุตรธรรมคืออะไร?)
สังโยชน์ ๑๐ เป็นสิ่งที่ควรละหรือควรเจริญ?ตอบ ควรละ พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ เรียกว่า โสดาปัตติมรรค คือ
๑. สักกายทิฏฐิ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ควรละ ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น ในที่นี้จึงเป็นความเห็นผิดหรือเห็นถูก ตอบ ความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ คำว่า สักกายทิฏฐิ โดยทั่วไปจะแปลว่าละ อัตตา(ตัวตน) ซึ่งเป็นคุณของพระอรหันต์ แม้แต่พระอนาคามี ก็ยังละอัตตาไม่ได้เลย ถ้าแปลว่าละอัตตาตัวตนแล้ว สังโยชน์ไม่ต้องมีถึง ๑๐ ข้อ มีข้อเดียวก็พอ ใครละได้ก็เป็นพระอรหันต์เลยทีเดียว จึงต้องแปลใหม่ตามพยัญชนะ คำว่า สักกายะ แปลว่า เนื่องด้วย
ตัวตน ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น ในที่นี้ต้องแปลว่า ความเห็นผิด เพราะต้องละ รวมความแปลว่า ละความเห็นผิดในเรื่องตัวตน ก็ยังไม่เข้าใจ ต้องคิดไปถึงว่าพระพุทธเจ้าต้องการให้ประพฤติพรหมจรรย์ หรือดับกิเลส ดับทุกข์ จึงต้องแปลว่า ความเห็นผิดในเรื่องการเกิดตัวตนที่เป็นทุกข์ ซึ่งผู้ศึกษาและปฏิบัติในโลกุตตรธรรมจะต้องละให้ได้ เป็นอันดับแรก
การเกิดตัวตนที่เป็นทุกข์มี ๓ อย่าง คือ
๑. การเกิดชีวิตจากท้องแม่ (ปรัชญาวัตถุนิยม Materialism)
๒. การเกิดปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดา (ปรัชญาวิญญาณนิยม Animism)
๓. การเกิดอุปทานที่ผัสสะ คือเมื่อจิตกระทบอารมณ์ด้วยอวิชชา (ปรัชญาพุทธนิยม Buddhism)
๑. การเกิดชิวิตจากท้องแม่เป็นภาษาคน ปรัชญาวัตถุนิยม เกิดมาแล้วจะแก้ไขไม่ให้เกิดไม่ได้ เมื่อเห็นว่าชีวิตเป็นทุกข์ วิธิดับทุกข์ก็คือการดับชีวิต พวกนี้ฆ่าตัวตายเพื่อดับทุกข์ เป็นการดับทุกข์ที่ผิด เป็นสีลัพพตปรมาส๒. การเกิดปฏิสนธิวิญญาณ ในครรภ์มารดา ปรัชญาวิญญาณนิยม สอนว่าวิญญาณเป็นอัตตาตัวตน วิญญาณล่องลอยได้ (Spirit man; Soul) เมื่อตายแล้วก็จะออกจากร่างนี้ไปเข้าร่างใหม่ หรือได้ไปอยู่กับพระเจ้า เป็นความเชื่อของพวกที่เชื่อว่าผีมีจริง (Spiritualism) พวกที่สอนเช่นนี้ และมีความเชื่อเช่นนี้เมื่อทุกข์มากๆ ก็ฆ่าตัวตายเหมือนกัน เพื่อย้ายวิญญาณไปอยู่ในร่างอื่น เหมือนการย้ายบ้าน เมื่อบ้านพังบ้านไฟไหม้ก็ย้ายไปอยู่บ้านใหม่ พวกนี้จะนำไปสู่การฆ่าตัวตายเช่นเดียวกัน ดังมีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ เมื่อมีความผิดเรื่องวิญญาณก็นำไปสู่การดับทุกข์ที่ผิดเป็น สีลัพพตปรมาส เช่นกัน รวมทั้งพวกที่เชื่อเรื่องชีวิตภายหลังความตาย และการกลับชาติมาเกิดใหม่ (Reincarnation) เห็นว่าชีวิตนี้ลำบากยากจนไม่พอใจสภาพที่เป็นอยู่ ก็อยากจะเปลี่ยนสภาพใหม่ซึ่งบางลัทธิมีการสอนว่า การได้ตายไปเกิดชาติหน้า จะได้ชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเก่า พวกที่มีความเชื่อเช่นนี้ก็พากันฆ่าตัว
ตายมาแล้วเป็นจำนวนมาก นี่ก็เป็น สีลัพพตปรมาส คือการปฏิบัติดับทุกข์ที่ผิด เช่นเดียวกัน
อีกนัยยะหนึ่ง สีลัพพตปรมาส (Adherence mere to rule and ritual) หมายถึงการยึดติดในศีลวัตรแต่เพียงเท่านั้น ทำให้เกิดการปิดกั้นตนเอง ไม่อาจผ่านไปถึงขั้นสมาธิและปัญญาได้ จึงเป็นทางปฏิบัติดับทุกข์ที่ผิดเช่นกัน
๓. การเกิดอุปาทาน คือเกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นในขณะที่จิต กระทบอารมณ์จึงทำให้เป็นทุกข์ ถ้ายึดมั่นมากก็ทุกข์มาก ถ้ายึดมั่นน้อยก็ทุกข์น้อย ถ้าหมดความยึดมั่นก็หมดทุกข์ อุปาทาน คือความยึดมั่น มีเหตุมาจาก อวิชชา ความไม่รู้หรือรู้ผิด เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิก็ได้ เป็นภาษาธรรม การดับทุกข์ที่ถูกต้องคือต้องดับอุปาทาน และอุปาทานเป็นเจตสิกผล มาจาก อวิชชา ซึ่งเป็นเจตสิกเหตุ ฉะนั้นอุปาทานจะดับได้ต้องดับที่เหตุคือ อวิชชา ผู้ที่เห็นถูกเช่นนี้จะไม่ดับทุกข์ผิดๆ อีกต่อไป เห็นถูกว่าทุกข์ที่ใจต้องดับที่ใจ ไม่ดับที่กายจะไม่ฆ่าตัวตายเด็ดขาด และไม่หวังจะไปดับทุกข์หลังตาย เช่นพวกวิญญาณนิยมสอนว่าตายแล้ววิญญาณไม่ไปเกิดอีกนั่นแหละหมดทุกข์ เรื่องนี้จะเข้าใจได้ด้วยการใช้สามัญสำนึกธรรมดา ในเมื่อเรามีความทุกข์ตอนเป็นๆ จะต้องดับทุกข์ให้ได้ตอนเป็นๆ ไม่ใช่ให้ไปได้รับหลังตาย ถ้าเช่นนั้นจะมีประโยชน์อะไรกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าชายสิทธัตถะดับทุกข์ได้เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา และตามพระพุทธประสงค์ที่พระองค์ได้ประกาศพุทธศาสนาก็เพื่อจะช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์กันตอนเป็นๆ เช่นเดียวกับพระองค์ และมีความเห็นถูกว่า ทุกข์เกิดที่ใจต้องดับที่ใจ ไม่ดับทุกข์ที่กาย จึงไม่ทำลายชีวิต (ทำลายกาย) ไม่ดับทุกข์ที่วิญญาณ ไม่ดับวิญญาณ (ทำลายจิตใจ) แต่จะดับอุปทานเรื่อยไป จึงไม่ต้องตาย และผู้ที่พยายามดับอุปาทานอยู่เสมอจะทำให้ถึงนิพพานเร็วขึ้น อวิชชา เปรียบเหมือนแว่นดำ อุปาทาน คือการเห็นผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อท้องฟ้าโปร่งใส่คนสวมแว่นดำ ก็จะเห็นเป็นมืดฟ้ามัวฝน เห็นถูกหรือเห็นผิดจากความเป็นจริง คำตอบก็คือเห็นผิดไปจากความเป็นจริงคือ มิจฉาทิฏฐิ และความเห็นผิดไปจากความเป็นจริงนี่คือความหมายของคำว่า “อุปทานทาน” แต่ถ้าท้องฟ้าโปร่งใสคนสวมแว่นขาว ก็จะเห็นโปร่งใส คือเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงก็ไม่เป็นอุปาทาน แว่นขาวก็คือ วิชชา หรือสัมมาทิฏฐิ นั่นเอง ที่เราเป็นทุกข์เพราะไปมีอุปาทานหรือไปยึดมั่นในอะไรเข้า? ตอบ ยึดมั่นใน ขันธ์ห้า คือส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นชีวิตของเรา จะเข้าไปยึดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งหรือทั้งห้าขันธ์ก็เป็นทุกข์ทั้งสิ้น เรียกว่า “อุปาทานขันธ์ทั้งห้า” ๆ มาจากคำ ๒ คำ คือ คำว่า “อุปาทาน” บวกกับ “ขันธ์ทั้งห้า” พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราดับอุปาทานขันธ์ทั้งห้า ซึ่งเป็นตัวทุกข์รวบยอด มีหลักฐานใน ธัมมจักกัปวัตนสูตร ว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานะ ขันธาทุกขา” กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์
เดิมขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาหรืออัตตา? ตอบ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน แต่เราไปเห็นขันธ์๕ ว่าเป็นอัตตา เห็นผิดหรือเห็นถูก เห็นผิด ๆ นี่คือความหมายของอุปาทาน อะไรเป็นเหตุให้เกิดอุปาทานหรือความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง ให้นึกถึงแว่นดำ คืออวิชชาใช่หรือไม่? อวิชชาคือรู้ผิดหรือมิจฉาทิฏฐิและความไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ตามความเป็นจริง ความจำได้หมายรู้ (สัญญา) ของเราจึงไม่ถูกต้องกลายเป็น สัญญาวิปลาส (จำมาผิดๆ) ฉะนั้นเราจะต้องเรียนใหม่เรียนให้ถูกปฏิบัติให้เกิดความเห็นถูกตามความเป็นจริง หรือ สัมมาทิฏฐิ เรียกว่า วิชชา เมื่อเกิดวิชชาขึ้นในขณะที่กระทบอารมณ์ จิตก็ไม่หวั่นไหวหรือไม่ปรุง กิเลสหรือความทุกข์ทั้งปวงก็ไม่เกิด
จิตรักษาสภาพเดิมแท้คือความ สะอาด สว่าง สงบ เย็น ไว้ได้อยู่เสมอ อย่างนี้เรียกว่าจิตถึง “นิพพาน” คือดับเย็นจากกิเลส ถึง สุญญตา คือว่างจากกิเลส ถึง พรหมจรรย์ คือบริสุทธิ์จากกิเลส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น