แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรมมงคล ๓๘ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรมมงคล ๓๘ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดวงตาเห็นธรรม 2


ดวงตาเห็นธรรม 2
                                                                         พระอาจารย์เมธา ชาตเมโธ


        ในมงคลสูตร อันเป็นธรรมมงคล ๓๘ ประการของพระพุทธเจ้า (วัตถุมงคล สัตว์มงคล ต้นไม้มงคล น้ำมงคล ฯลฯ ไม่ใช่พระพุทธศาสนา)
        ธรรมมงคล ๓๘ ประการเป็นมงคลแห่งชีวิต (ไม่ใช่วัตถุมงคล)
        มงคลข้อที่ ๑ – ๓๐ เป็นโลกียธรรม คือ.
ไม่คบคนพาล, คบแต่บัณฑิต, การบูชาบุคคลที่ควรบูชา, การอยู่ในประเทศอันสมควร, การทำบุญไว้ในกาลก่อน, การตั้งตนไว้ชอบ, การได้ยินได้ฟังมาก, ความฉลาดในหัตถกรรมและศิลปะ, ความเป็นผู้มีวินัย, การกล่าววาจาอันดีงาม, การบำรุงมารดาบิดา, การสงเคราะห์บุตร, การสงเคราะห์ภริยา, การงานไม่คั่งค้าง, การบริจาคทาน, การประพฤติธรรม, การสงเคราะห์ญาติ, การทำการงานอันปราศจากโทษ, การงดเว้นจากบาปอกุศล, การสำรวมในการดื่มน้ำเมาหรือยาเสพติดให้โทษ, ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย, การเคารพต่อผู้ที่สมควร, ความอ่อนน้อมถ่อมตน, ความสันโดษ, ความกตัญญู, การฟังธรรมตามกาล, ความอดทน, ความเป็นผู้ว่าง่าย, การเห็นสมณะ, การสนทนาธรรมตามกาล. (การดำเนินชีวิตด้วยมงคลชีวิตเป็นชีวิตที่ดีมีคุณค่า)
        มงคลข้อที่ ๓๑– ๓๘ เป็นระดับโลกุตรธรรม
ข้อที่ ๓๑ อินทรีย์สังวร(ความเพียรละกิเลส) คือการควบคุมตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ด้วยสติปัญญาให้กายสุจริต ๓, วจีสุจริต ๔, มโนสุจริต ๓ รวมเรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ อันเป็นศีลที่สมบูรณ์แบบหรือเป็นหลักมนุษยธรรมของชาวพุทธ มีครบทั้งศีลกาย ศีลวาจา และศีลใจ
ข้อที่ ๓๒ การประพฤติพรหมจรรย์ (ทำจิตให้บริษุทธิ์ตามนัยมรรคมีองค์ ๘ ) เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นอริยบุคคล ๔ จำพวก
ข้อที่ ๓๓ การเห็นแจ้งปฏิจจสมุปบาท ดับทุกข์ได้สิ้นเชิงถึงซึ่ง “วิชชา”
ข้อที่ ๓๔ การทำพระนิพพานให้แจ้ง (จิตบริสุทธิ์สิ้นเชิง) ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานใดๆ ถึงซึ่ง “วิมุตติ”
ข้อที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ข้อที่ ๓๖ จิตไม่โศก ข้อที่ ๓๗ จิตสิ้นธุลี ข้อที่ ๓๘ จิตเกษม มงคลข้อที่ ๓๕ - ๓๘ รวมเรียกว่าจิตถึงความเป็นเอกสี่ขั้น เป็นความหมายของ นิพพาน ในชีวิตประจำวัน มีหลักฐานในอังคุตตรนิกายติกนิบาต และในขุททกนิกาย
        มงคล คือ เหตุที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ ในพระพุทธศาสนามีแต่ธรรมมงคล ๓๘ ประการเท่านั้น มงคลอื่นนอกจากนี้เช่น วัตถุมงคล ต้นไม้มงคล สัตว์มงคล น้ำมงคล สายมงคล ไม่มีในพระพุทธศาสนา จิตผ่องแผ้ว จิตขาวรอบ จิตบริสุทธิ์ พรหมจรรย์ มีความหมายเดียวกัน คือสิ้นกิเลสสิ้นทุกข์ เป็นโลกุตรธรรม(ธรรมเหนือโลก) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จิตถึงความเป็นเอกสี่ขั้น คือถึงนิพพาน ที่ถูกต้องตรงตาามปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องในชาตินี้ไม่ใช่นิพพานในชาติหน้าภายหลังตาย ที่มีการสอนกันทั่วไปว่านิพพานคือตายแล้ววิญญาณสูญ ไม่ไปเกิดอีกต่อไป ซึ่งเป็นคำสอนของลัทธิ วิญญาณนิยม (Animism) โดยถือเอาวิญญาณเป็นอัตตา (Soul) ไม่ใช่พระพุทธสาสนา หรือปรัชญา พุทธนิยม (Buddhism) เรื่องวิญญาณเป็นอัตตาตัวตนเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นคำสอนของลัทธิศาสนาอื่นที่แทรกซึมเข้ามาในคัมภีร์พุทธศาสนาในภายหลังจนกลายเป็นพุทธศาสนาเนื้องอกในที่สุดก็แตกแยกออกเป็นมหายานนิกายต่างๆ คำสอนเพี้ยนๆ เช่นนี้ทำความสับสนให้แก่พุทธบริษัทเป็นอันมาก