แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การดับทุกข์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การดับทุกข์ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดวงตาเห็นธรรม 5


ดวงตาเห็นธรรม 5
                                                                               พระอาจารย์เมธา ชาตเมโธ

     
         ความทุกข์เกิดที่ไหน? ก็ดับที่นั่น
        ความทุกข์เกิดที่ผัสสะด้วยอวิชชา เมื่อจิตปุถุชนยสังมีอวิชชา ยังไม่มีความรู้เรื่องผัสสะอย่างถูกต้อง เมื่อกระทบอารมณ์ที่ผัสสะด้วยอวิชชา จึงเกิดความทุกข์ใจขึ้น คือจิตย่อมเกิดการปรุงแต่งไปในทางลบบ้าง ทางบวกบ้าง ทางกลางๆ บ้าง ทั้งนี้เพราะอารมณ์ที่มากระทบจิตนั้นมี ๓ ลักษณะด้วยกันคือ
       ๑. อิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่ายินดี น่าใคร่น่าพอใจ (ฝ่ายโลภะ)
       ๒. อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ (ฝ่ายโทสะ)
       ๓. มัชฌัตตารมณ์ อารมณ์ที่เป็นกลางๆ (ฝ่ายโมหะ)
       ลักษณะของการปรุงแต่งจิตของปุถุชนมีอวิชชา มี ๓ ลักษณะคือ
       ๑. ปุญญาภิสังขาร การปรุงเป็นฝ่ายบุญกุศล (ฝ่ายดี)
       ๒. อปุญญาภิสังขาร การปรุงเป็นฝ่ายบาปอกุศล (ฝ่ายชั่ว)
       ๓. อเนญชาภิสังขาร การปรุงเป็นฝ่ายระหว่างกลาง (ไม่ดีไม่ชั่ว)
ส่วนจิตของพระอรหันต์นั้นหมดอวิชชาแล้ว จึงไม่ไม่มีการปรุงเป็นพอใจไม่พอใจ เป็นฝ่ายชั่ว เป็นฝ่ายดี หรือเฉยๆ ด้วยโมหะ แต่จิตของพระอรหันต์จะรักษาความปรกติเอาไว้ได้ มีความวางเฉยด้วยปัญญา (อุเบกขาญาณสัมปยุต)
ความจริงคำว่าดับทุกข์นี้มิได้หมายความว่าต้องรอให้ทุกข์เกิดก่อนแล้วค่อยดับทุกข์นั้นให้หมดไปทีหลัง เช่นเดียวกับการปล่อยให้เกิดไฟไหม้ก่อนแล้วจึงเอาน้ำไปดับไฟ ซึ่งถ้าดับไฟได้ ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาสิ่งที่สูญเสียกลับคืนมาได้ ทางที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ การดับทุกข์หรือการทำที่สุดแห่งทุกข์ก็เช่นเดียวกัน จะต้องป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิดขึ้นในขณะผัสสะ ทุกครั้งไป ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นความทุกข์เกิดขึ้นแล้วจึงตามดับ