เรื่อง การทำบุญโดยไม่ต้องเชื่อเรื่องหลังตาย คัดจาก นสพ.สยามรัฐ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๐ บทความซอยสวนพลู โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ดังนี้
คอร์ลัมซอยสวนพลู
ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ชายาในพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม นี้ และได้ฌาปนกิจศพไปแล้ว อย่างไม่มีพิธีรีตองแต่อย่างใด เมื่อวันที่ ๔ เดือนมิถุนายน
ผมได้รู้จักคุ้นเคยกับคุณหญิงพันธุ์ทิพย์และเสด็จในกรมหมื่นนครสวรรค์ มาตั้งแต่ผมยังเป็นเด็กเล็ก ท่านทั้งสองได้มีเมตตากรุณาต่อผมมาโดยตลอด เมื่อผมเป็นเด็กท่านก็ไม่เคยกริ้วโกรธ ผมโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ไม่เคยมีเรื่องผิดพ้องหมองใจกันแต่อย่างไรเลย
คุณหญิงท่านกรุณาผมอย่างเพื่อน พูดจาอะไรกันได้ตรงไปตรงมา ไม่ต้องมีอะไรปิดบังกัน ผมทำอะไรที่ท่านไม่ถูกใจ ท่านก็พูดต่อหน้าเชิงวิชาการ ไม่เคยโกรธหรือเอาเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยว
ผมจะพูดถึงคุณหญิงพันธุ์ทิพย์ เฉพาะแต่ในเรื่องความเชื่อของท่าน ซึ่งผมได้พูดกับท่านมาช้านานในเรื่องนี้ ผมขัดคอบ้างแย้งท่านบ้าง เอาหลักฐานต่างๆ มาล้างเหตุผลของท่านบ้าง แต่ท่านก็ไม่เคยละความเชื่ออันนั้นของท่านได้
ท่านเชื่อว่า คนเราที่เกิดมานั้น ตายแล้วสูญ ไม่มีอะไรเหลืออีกต่อไป ไม่มีชาติใหม่ ภพใหม่ ชาติก็ดี ภพก็ดี มีขึ้นเมื่อร่างกายนี้เกิดเท่านั้น เมื่อร่างกายนี้ดับสลายไปแล้ว ก็ไม่มีชาติอื่นภพอื่นมาต่อ ไม่มีจิตหรือวิญญาณหรือเจตภูตอะไรเหลืออยู่อีกเลย
คุณหญิงพันธุ์ทิพย์ นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับผมนับถือพระรัตนตรัย สวดนโมฯ ได้ กราบไหว้พระพุทธรูปและพระสงฆ์เช่นเดียวกับผม บำเพ็ญกุศลตามประเพณีไทยตามวาระและเทศกาล ไม่เคยลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา หรือคนที่นับถือศาสนา และอยู่กับเสด็จในกรมฯ ซึ่งออกจะหนักในศาสนาพุทธมาได้ตลอดพระชนม์ชีพ โดยไม่มีอุปสรรคในทางนี้
คุณหญิงพันธุ์ทิพย์ เป็นคนที่ทำบุญไว้มากมาย ทั้งในพระศาสนาและทางด้านสาธารณกุศล ความจริงข้อนี้เห็นจะไม่มีใครปฏิเสธได้ แต่ท่านก็ยังเชื่อว่า ตายแล้วสูญ
ผมเคยถามท่านว่า เมื่อท่านเชื่ออย่างนี้แล้ว ท่านทำบุญทำไม?
ท่านชี้หน้าผม แล้วตอบว่า “ฉันไม่ใช่คนเห็นแก่ตัวอย่างคุณชายนี่ จะได้ทำบุญหวังผลชาติหน้า ฉันเห็นว่าการทำบุญเป็นความดี ชีวิตคนนั้นไม่นานนัก ฉันก็อยากทำความดีให้มากที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้ ระหว่างที่ฉันมีชีวิตอยู่ ฉันตายแล้วก็สูญ ไม่ได้รับกุศลที่ทำไว้ ซึ่งฉันทำบุญ ก็ไม่ได้หวังอะไรอย่างนั้นเลย แต่ผลดีจะเกิดขึ้นแก่หลักธรรมหรือบุคคล ซึ่งได้รับผลจากการทำบุญของฉัน”
ผมก็จำนนท่าน ได้แต่บ่นตุบๆ ตับๆ ให้ท่านได้ยินว่าคุณหญิงเป็นคนนอกศาสนา แต่ก็พูดได้ไม่เต็มปากนัก เพราะรู้อยู่แก่ใจว่า ท่านใม่ใช่นอกศาสนา
แต่ผมก็ถามท่านว่า “คุณหญิงทำบุญกรวดน้ำหรือเปล่า” “กรวด”
“ก็เมื่อไม่มีชาติหน้าภพหน้าแล้วจะกรวดน้ำอุทิศให้แก่ใคร?” “กรวดให้คนเป็นๆ และสัตว์โลกทั้งหลายที่เสียเปรียบถูกเล่นรังแก มีความทุกข์ มีความเดือนร้อน ป่วยเจ็บทรมาน ต้องดิ้นรนเพราะกลัวภัยอันตรายต่างๆ”
พุทธศาสนาสอนไว้ว่า คนที่เชื่อว่าตายสูญเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่คนที่เชื่อว่าตายแล้วเกิดก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ
แล้วจะเอายังไง พูดกันตามจริง ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
แต่ผมเชื่อของผมเป็นส่วนตัวอย่างที่พระท่านสอนว่า เมื่อยังมีตัณหาอุปาทาน แล้วก็ต้องมีชาติมีภพ คือต้องเกิดอีก ต้องเป็นอีก
แล้วยังไง เมื่อมีชาติมีภพ ก็จะต้องมีความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ มีการร้องไห้คร่ำครวญ และมีความแห้งใจ ถึงจะทำบุญไว้เท่าไร ลงได้เกิดแล้ว ก็ต้องประสบทุกข์เหล่านี้ทั้งนั้น จะมากหรือน้อยก็สุดแล้วแต่ว่าสิ่งที่เกิดในชาติหน้าภพหน้านั้น จะเป็นอะไร? หรืออยู่ในฐานะอย่างไร?
ตอนตายแล้วเกิดนั้นเกิดตรงไหนเมื่อไร?
ก็ขอตอบว่า เกิดเดี๋ยวนั้น พอตายก็เกิดใหม่เหมือนกับจิตที่ดับแล้วเกิดทันที เรียกว่า ปฏิสนธิจิต เมื่อเกิดในภพใหม่แล้วก็จะไม่รู้ว่า ตัวเองมาจากไหน? ชาติเก่าภพเก่านั้นหมดสนิท จะไม่มีอาลัยหรือกังวล เกี่ยวกับภพที่ล่วงไปแล้วเลย เพราะภพใหม่ก็เป็นเรื่องของภพใหม่ ที่จะต้องเผชิญทุกข์แบบเก่าๆ ต่อไป ไม่อยู่ในสภาพที่จะไปนึกถึงภพก่อน หรือกับมาเข้าฝันเข้าทรงใครได้ สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือศพ ที่คุณหญิงพันธุ์ทิพย์ท่านสั่งไว้ว่า ไม่ใช่สิ่งควรบูชาให้รีบเผาๆ เสียให้หมดไป เมื่อขี้เถ้ามีประโยชน์ต่อต้นไม้ ก็ให้ไปโรยใส่ต้นไม้
อันหลังนี้ ก็เป็นอุปาทานนะครับ คือยึดว่าต้องมีขี้เถ้าและขี้เถ้านั้นเป็นปุ๋ยต้นไม้
(จบบทความของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช)
ต่อด้วยความเห็นของ อ.ไสว แก้วสม
ข้าพเจ้าเห็นตรงข้ามกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ คือเห็นว่าคำสั่งของคุณหญิงพันธุ์ทิพย์ เป็นคำสั่งสอนที่ไม่มีอุปาทาน ท่านต้องการให้ทำประโยชน์ถึงที่สุด เช่น สั่งให้คลุมศพด้วยผ้าขาวธรรมดา ราคาถูกๆ (เพราะต้องเอาไปเผา). ไม่ต้องรดน้ำศพ (ไม่รู้เย็นรู้ร้อนแล้ว). บรรจุโลงธรรมดาราคาถูก (ต้องเผา). ศพไม่ใช่สิ่งเคารพบูชาให้รีบเผาเสีย (เป็นหนังหุ้มสิ่งปฏิกูลและอาจมีเชื้อโรค) ให้เคารพกรรมดี, ถ้าขี้เถ้าเป็นปุ๋ยก็ให้ไปใส่ต้นไม้ เหล่านี้คือคำสั่งของคนที่ไม่มีอุปาทาน เพราะถ้ามีอุปาทานแล้วก็ต้องสั่งให้จัดการทำพิธีศพของตนอย่างใหญ่โต (จะหมดเงินเท่าใดก็ช่าง) ฉันตายแล้วห้ามควักลูกตาของฉันไปให้คนอื่นประเดี๋ยวเกิดชาติหน้าตาโบ๋ไม่มีดวงตา (จบความเห็นของ อ.ไสว แก้วสม)
พระเมธา ขอแสดงความเห็นด้วยคน ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่า
พุทธศาสนาสอนไว้ว่า คนที่เชื่อว่าตายสูญเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่คนที่เชื่อว่าตายแล้วเกิดก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ แล้วจะเอายังไง พูดกันตามจริง ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
อาตมารู้ ตายแล้วสูญเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรียกว่า อุทเฉททิฏฐิ (Annihilationism) ตายแล้วเกิดอีก เป็นมิจฉาทิฏฐิเรียกว่า สัสสตทิฏฐิ (Eternalism) นั้นถูกต้องแล้ว ทั้งนี้เพราะเห็นผิดว่าวิญญาณเป็นอัตตาทั้งคู่ ที่ท่านคึกฤทธิ์ว่า โดยส่วนตัวผมๆ เชื่อว่าถ้ายังมีกิเลสตัณหา ก็จะต้องเกิดอีก นั่นแหละคือ สัสสตทิฏฐิ ส่วนใหญ่ในเวลานี้ก็สอนกันแบบสัสสตทิฏฐิกันทั่วไป แล้วรังเกียจการสอนว่าตายแล้วไม่เกิดอีก ซึ่งก็ผิดไปอีกทางหนึ่งเช่นเดียวกัน ท่านคึกฤทธิ์บอกต่อไปว่า เกิดเมื่อไร? เกิดทันทีที่ตาย นี่ท่านว่าตามคำสอนของอภิธรรม เมื่อพ่อแม่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์กันเกิดปฏิสนธิไม่ได้ แล้วจะเกิดทันทีได้อย่างไร? ทั้งเรื่องสัมภเวสี วิญญาณตัวตนเดินทางแสวงหาภพก็ไม่มีจริง เป็นเพียงจินตนาการของมนุษย์เท่านั้น ในคนเป็นๆ ที่มีชีวิต มีวิญญาณคือธาตุรู้ (Conscious element) เมื่อสิ้นชีวิต สิ่งที่มีชีวิตก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ธาตุรู้ ก็ดับลง และซากศพก็จะค่อยเน่าสลายในการฝังหรือเผาไฟ มหาภูตรูป ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม (ของแข็งของเหลวความร้อนและแก๊สก็แตกสลายออกไป เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต และอาจจะเป็นส่วนประกอบของรูปที่มีชีวิตในอนาคตข้างหน้าต่อไปอีก ฝ่ายจิตหรือนามธรรมก็เหมือนไฟหมดเชื้อ ไฟนั้นก็ดับ ถ้าหากมีการจุดไฟขึ้นมาใหม่ ก็เป็นไฟใหม่ที่เกิดจากเหตุปัจจัยใหม่ ไม่ใช่ไฟเก่ามาเกิดใหม่ กายและใจล้วนเป็นสังขตธรรมทั้งคู่ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน แม้ในขณะที่กำลังมีชีวิตอยู่ มีการเกิดดับอยู่เสมอ และจะดับสนิทเมื่อสิ้นชีวิต เปรียบเหมือนไฟเมื่อสิ้นเชื้อแล้วก็ดับ ถ้าใครพูดว่าไฟมันไปไหน ไปเกิดหรือไม่เกิด ก็เป็นเพียงจินตนาการของคนที่เต็มไปด้วยอวิชชานั่นเอง ในบทสวดมนต์มีว่า “มรณะปริโยสานัง เม ชีวิตัง” ชีวิตมีความตายเป็นที่สุดรอบ (ไม่มีชีวิตภาคสอง)
“เทียนที่จุดหมดไส้เมื่อใดดับ เมื่อเทียบกับชีวิตไม่ผิดผัน
ชีวิตน้อยย่อยยับกับคืนวัน สิ้นเชื้อพลันก็ดับเหมือนกับเทียน”
“วิญญาณพุทธนั้นหรือคือธาตุรู้ ไมมีอยู่ในคนตายคลายสงสัย
เมื่อตายแล้ววิญญาณลับดับตามไป ตามร่างกายสลายได้อนิจจัง
สิ่งไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์อนัตตา ใช้ปัญญาเห็นได้จริงสิ่งที่หวัง
ย่อมเปลี่ยนแปลงปรวนแปรได้ทุกครั้ง ๆ ควรหยุดยั้งตรองตรึกนึกให้ดี
ถ้ายึดมั่นมันแต่น้อยไม่ค่อยทุกข์ ไม่ยึดเลยย่อมเป็นสุขเกษมสันต์
ถอนอุปาทานขันธ์นั้นยอดดี เป็นจุดหมายชาวพุทธชี้ชาตินี้เอย”
ความเห็นของคุณหญิงเกี่ยวกับความตายว่า “ฉันไม่ใช่คนเห็นแก่ตัวอย่างคุณชายนี่ จะได้ทำบุญหวังผลชาติหน้า ฉันเห็นว่าการทำบุญเป็นความดี ชีวิตคนนั้นไม่นานนัก ฉันก็อยากทำความดีให้มากที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้ ระหว่างที่ฉันมีชีวิตอยู่ ฉันตายแล้วก็สูญ ไม่ได้รับกุศลที่ทำไว้ ซึ่งฉันทำบุญ ก็ไม่ได้หวังอะไรอย่างนั้นเลย แต่ผลดีจะเกิดขึ้นแก่หลักธรรมหรือบุคคล ซึ่งได้รับผลจากการทำบุญของฉัน” ความเห็นของท่านเข้าหลักอนัตตา ไม่มีวิญญาณอัตตา เป็นสัมมาทิฏฐิ
การทำบุญของคุณหญิง เป็นการทำบุญที่ถูกต้องในพุทธศาสนา ท่านทำเพื่อให้ไม่ได้ทำเพื่อเอา ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ แม้แต่คำว่าขอบใจ จากตัวอย่างการทำบุญ ๓ แบบ คือ ๑.ทำบุญแบบอาบน้ำโคลน ๒.ทำบุญแบบอาบน้ำแป้งหอม ๓.ทำบุญสแบบอาบน้ำสะอาด คุณหญิงท่านทำบุญแบบอาบน้ำสะอาด ได้บุญเต็ม ๑๐๐ % แสดงให้เห็นว่าท่านมีภูมิรู้ภูมิปัญญาในพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง บุญของท่านกลายเป็นกุศล กลายเป็นเครื่องชำระล้างจิตใจให้สะอาด ปราศจากความโลภ โกรธ หลง ท่านทำบุญโดยไม่ติดบุญ ไม่บ้าบุญบ้าสวรรค์ อย่างที่คนหลงผิดเขาสอนกันอยู่เป็นส่วนมาก ท่านใช้บุญเหมือนใช้เรือแพข้ามฟาก เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ไม่ต้องแบกเรือแพไปด้วย การที่คุณหญิง ได้บอกลูกหลานว่า “ซากศพไม่ใช่สิ่งที่ควรบูชา และอาจจะมีเชื้อโรคด้วย ให้ห่อด้วยผ้าขาว แล้วเอาไปเสียโดยเร็ว ถ้าเหลือขี้เถ้าที่เป็นประโยชน์อยู่บ้างก็ให้เอาไปใส่ต้นไม้ให้เป็นปุ๋ย ฉันทำบุญแล้วก็ไม่ได้หวังไปรับผลบุญในชาติหน้าเลย ตายแล้วก็ไม่มีอะไรเหลือ แต่ทำไปก็เพื่อช่วยเหลือคนที่กำลังเป็นทุกข์ให้พ้นจากทุกข์ คนทั้งหลายที่เสียเปรียบถูกเล่นรังแก มีความทุกข์ มีความเดือนร้อน ป่วยเจ็บทรมาน ต้องดิ้นรนเพราะกลัวภัยอันตรายต่างๆ การกรวดน้ำท่านก็ทำไปตามประเพณี แต่กรวดให้คนเป็นๆ ที่ตกทุกขฺได้ยาก ไม่ได้กรวดให้คนที่ตายไปแล้ว ผลบุญที่ฉันทำจะเกิดขึ้นแก่คนเป็นๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่”
แสดงให้เห็นว่า คุณหญิง ม.ร.ว.พันธ์ทิพย์ บริพัตร ท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิรู้ภูมิปัญญา ทางพุทธศาสนา สมบูรณ์ทั้งสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ มีความเห็นถูกต้อง มีความคิดถูกต้อง และมรรคองค์อื่นๆ ก็ย่อมถูกต้องไปด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าท่านเป็นพระอริยบุคคลในพุทธศาสนาองค์หนึ่ง เป็นมหาอุบาสิกาตัวอย่างของชาวพุทธไทยในโลกปัจจุบัน ที่หาได้ยากยิ่ง ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงบันทึกเรื่องราวของท่านไว้เป็นอนุสรณ์ของชาวพุทธไทยต่อไป
“สิ่งนั้นๆ เป็นเหมือนของเกลื่อนกลาด ที่เป็นบาปเก็บกวาดทิ้งใต้ถุน ที่เป็นบุญมีไว้เพียงเจือจุน ใช้เป็นคุณสะดวกดายคล้ายรถเรือ เหมือนบ่าวไพร่เอาไว้ใช้ใช่ไว้แบก กลัวตกแตกใจสั่นประหวั่นเหลือ เรากินเกลือใช่จะต้องบูชาเกลือ บุญเหมือนเรือเอาไว้ขี่ไปนิพพาน มิใช่เพื่อประดับให้สวยหรู เที่ยวอวดชูแบกไปทุกสถาน ท่องเที่ยวไปในโลกโอฆกันดาร ไม่อยากข้ามขึ้นนิพพานเสียดายเรือ” (พุทธทาสภิกขุ)
เมื่อพูดถึงพระอริยบุคคลทำให้อาตมาระลึกถึงพระอริยบุคคลอีกสองท่านคือ ๑.ท่านพุทธภิกขุ ๒.พล.ต.เดช ตุลวรรธนะ (เป็นความเชื่อส่วนตัว)
ท่านพุทธทาสนั้นก่อนมรณภาพ ท่านได้เขียนพินัยกรรมให้ลูกษศิษย์ปฏิบัติ ไม่ขอไฟพระราชทาน ไม่ต้องนิมนต์พระมาสวดอภิธรรม ให้เผาศพแบบประเพณีโบราณ โดยเอาไม้มากองเข้าเอาศพวางบนกองฟืนแล้วจุดไฟเผา แทบเรียกได้ว่าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดเลย ประหยัดและเรียบง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับศพพระในจังหวัดอุบลราชธานี เฉพาะเมรตั้งศพราคา ๑ ล้าน ๕ แสนบาท ศพพระที่จังหวัดสมุทรสาคร เฉพาะโลงศพฝังมุกราคา ๓ แสนบาท เป็นต้น อาตมาเห็นว่าความคิดของท่านพุทธทาสเป็นความคิดของพระอริยบุคคลองค์หนึ่ง
ส่วน พล.ต.เดช ตุลวรรธนะ นั้นได้สั่งลูกหลานไว้เช่นกัน แต่ท่านเป็นนายทหารชั้นนายพล จึงอนุโลมตามประเพณีนิยมบ้าง แต่มีสิ่งที่แปลกก็คือ ให้แจกหนังสือธรรมะที่ท่านเขียนเอง ไม่ต้องนิมนต์พระมาสวดอภิธรรม และให้นิมนต์พระเมธา ชาตเมโธ มาแสดงธรรม ในงานศพที่บ้านซอยสุขุมวิท ๒๒ จำนวน ๗ ครั้ง และเทศน์ที่วัดโสมนัสในวันเผา ๑ ครั้ง และลูกหลานก็ปฏิบัติตามนั้น อาตมาเห็นว่าความคิดของท่านเป็นความคิดของพระอริยบุคคลองค์หนึ่ง
พระเมธา ชาตเมโธ โทร.๐๘-๑๔๗๖-๑๔๕๕ (๑ ต.ค.๒๕๕๓)
ดวงตาเห็นธรรม
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ความแตกต่างระหว่างพุทธกับพราหมณ์
ความแตกต่างระหว่างพุทธกับพราหมณ์
พระเมธา ชาตเมโธ
พระเมธา ชาตเมโธ
๑.พราหมณ์เชื่อว่ามีพระเจ้า คือพระพรหมเป็นผู้สร้างโลกสร้างมนุษย์ เป็นศาสนาประเภทเทวนิยม (Theism)
-พุทธไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า โลกและมนุษย์เกิดจากเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม (Atheism)
๒.พราหมณ์ใช้วิญญาณอัตตา (Soul) เป็นวิญญาณของพระเจ้า เมื่อมนุษย์ตาย วิญญาณจะกลับไปอยู่กับพระเจ้า รับใช้พระเจ้าเป็นชีวิตนิรันดร์ ซึ่งเป็นจินตนาการของมนุษย์ ไม่ใช่สัจธรรม
-พุทธใช้วิญญาณอนัตตา หรือวิญญาณธาตุรู้ (Conscious elemevnt) เกิดจากเหตุปัจจัย และจะดับไปเมื่อสิ้นเหตุปัจจัย เป็นสังขตธรรม (Conditioned thing) มีอยู่ในคนเป็นๆ คือคนมีชีวิต ส่วนคนตายไม่มีวิญญาณ ซึ่งเป็นสัจธรรมสากล
๓.พราหมณ์สอนเรื่องกรรมที่ติดตามวิญญาณอัตตาไป หลายภพหลายชาติ มีชนกกรรม กรรมนำวิญญาณไปเกิด ในภพภูมิต่างๆ มนุษย์เป็นไปตามกรรมเก่าในอดีตชาติ หรือเป็นเพราะพรหมลิขิต (พระเจ้าบันดาล) ควบคุมไม่ได้
พุทธสอนกรรมคือการกระทำทางกายวาจาใจ ให้ผลทันทีที่ทำเป็นเรื่องของจิตใจ (มโนกรรม) ส่วนผลทางวัตถุนั้น เป็นผลพลอยได้เท่านั้น มนุษย์สามารถควบคุมกรรมได้ และทำให้สิ้นกรรมได้ภายในชีวิตนี้ ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ ตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางสายกลาง
๔.พราหมณ์มีการแบ่งชั้นวรรณะ เป็น ๔ วรรณะคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพทศ์ ศูทร พราหมณ์กำหนดให้วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐ วรรณะอื่นเลว วรรณะพราหมณ์ขาว วรรณะอื่นดำ ความมุ่งหมายในการแบ่งชั้นวรรณะของพราหมณ์ ก็เพื่อที่ยกวรรณะของตนเองให้สูงส่ง เป็นผู้มีบุญมาเกิด เป็นหนทางให้ได้อำนาจ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทำให้วรรณะพราหมณ์ได้เปรียบทางสังคม กดขี่วรรณะอื่นลงเป็นทาส ด้วยสอนให้กลัวพระเจ้า เทวดา ภูตผี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวัตถุมงคล ให้ยอมรับว่าเป็นกรรมเก่าในอดีตชาติ แก้ไขไม่ได้เป็นลัทธิยอมจำนน ทำกรรมในชาตินี้จะได้รับผลกรรมในชาติหน้า
-พุทธไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ พระพุทธเจ้ารับบวชทุกวรรณะ ถือว่ามีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน พระองค์ตรัสว่า “มนุษย์จะดีหรือชั่วมิได้ขึ้นอยู่กับชั้นวรรณะหรือชาติกำเนิด แต่ขึ้นอยู่กับกรรมคือการกระทำของตนเอง ถ้าเกิดในตระกูลสูงถ้าทำความชั่วคนนั้นย่อมเป็นคนชั่ว ถ้าเกิดในตระกูลต่ำถ้าทำความดีคนนั้นก็เป็นคนดี” กรรมเป็นอกาลิโก ปฏิบัติและให้ผลได้ในชีวิตนี้
๕.พราหมณ์สอนไม่มีตัวทุกข์ในอริสัจสี่ จะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับพระเจ้า เรียกว่าพรหมลิขิต (อิสรนิมมานเหตุวาท) จึงต้องอ้อนวอนบวงสรวงพระเจ้า ด้วยเลือดและชีวิตของมนุษย์และสัตว์ มีพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ เป็นต้น โดยจ้างพราหมณ์ให้เป็นผู้ทำพิธี
-พุทธสอนว่ามีตัวทุกข์คืออุปาทานขันธ์ จึงสามารถดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง โดยการถอนอุปาทานขันธ์ สามารถปฏิบัติได้ตามนัยยะแห่งอริยมรรค มีองค์ ๘ ได้รับผลเป็นโลกุตรภูมิ ภูมิที่เหนือความทุกข์ สามารถดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องจ้างใครมาทำพิธีอ้อนวอนให้พระเจ้าช่วย แต่ช่วยตัวเองตามหลักตนเป็นที่พึ่งแก่ตน
๖.พราหมณ์สอนนรก-สวรรค์ เป็นเรื่องนอกตัว นรกอยู่ใต้ดิน มี ๘ ขุมใหญ่ มีขุมย่อยอีกมาก สวรรค์อยู่บนท้องฟ้ามี ๖ ชั้น รูปพรหมอีก ๑๖ ชั้น อรูปพรหมอีก ๔ ชั้น วิสุทธิภูมิอีก ๕ ชั้น จะถึงได้จะต้องตายเสียก่อน
-พุทธสอนนรก-สวรรค์อยู่ในใจ เมื่อเกิดผัสสะในชีวิตประจำวัน เป็นสันทิฏฐิโกสามารถควบคุมได้ เกิดความโลภเป็นเปรต เกิดความโกรธ เป็นสัตว์นรก เกิดความกลัวเป็นอสุรกาย เกิดความหลงเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น เกิดหิริ โอตตัปปะ เป็นเทวดา เกิด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นพรหม เกิดขึ้นทันทีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ต้องรอหลังตาย
๗.พราหมณ์สอนการเวียนว่ายตายเกิด คือ การเวียนว่ายของวิญญาณอัตตา จะทำได้ต้องตายเสียก่อน
-พุทธสอนการเวียนว่ายตายเกิดคือการเวียนว่ายของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ในขณะยังมีชีวิตอยู่ ถ้าเกิดกิเลสดี ภพชาติดี ถ้าเกิดกิเลสชั่ว ภพชาติชั่ว ถ้าสิ้นกิเลสก็สิ้นภพสิ้นชาติ คือถึงนิพพาน พระพุทธเจ้าสอนว่าวัฏฏะ ๓ คือ ๑.กิเลส ๒.กรรม ๓.วิบาก เท่านั้น ไม่มีการเวียนว่ายของวิญญาณ
๘.พราหมณ์สอนนิพพานคือ การที่วิญญาณไม่ต้องไปเกิดอีก เข้าถึงได้หลังตายแล้ว ไม่มีประโยชน์กับผู้ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เพราะ เป็นเพียงจินตนาการของมนุษย์ เท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” แปลว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ตายแล้วไม่เกิดอีกใครได้รับความสุข และนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตายแล้วสูญใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์
-พุทธสอนนิพพานคือ ความดับทุกข์ใจในชีวิตปัจจุบัน เป็นอกาลิโก ให้ผลทันที ไม่ต้องรอรับผลหลังตาย เป็นการตายก่อนตาย คือตายกิเลส ก่อนที่จะตายชีวิต มีประโยชน์มาก เป็นปรมัตถประโยชน์ และมีความสุขมากเป็นบรมสุข เพราะได้นิพพานสุขแล้วจะไม่ต้องกลับมามีความทุกข์อีกจนตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่นเจ้าชายสิทธัตถะ อายุ ๓๕ พรรษา ได้ตรัสรู้ถึงนิพพานแล้ว ยังมีชีวิตอยู่อีก ๔๕ พรรษา จึงจะสิ้นชีวิต ระหว่างนั้นพระองค์จะไม่มีความทุกข์เลย
๙.แก่นคำสอนพราหมณ์ สอนให้เชื่อเรื่องกรรมข้ามภพข้ามชาติ เรื่องเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณอัตตาหลังตาย จึงสอนเรื่องกรรมให้ทำดีในชาตินี้เพื่อไปรับผลดีในชาติหน้า ชีวิตในชาตินี้คือผลของกรรมในชาติก่อน ซึ่งเป็นคำสอนนอกพุทธศาสนา เรียกว่า ปุพเพกตเหตุวาท เป็นโลกียธรรม และยึดหลักอัตตา ในเมื่อเข้าใจผิดว่าวิญญาณเป็นทุกข์ก็หวังจะดับวิญญาณหลังตาย เรียกว่าเข้าโมกษะ ที่เห็นว่าชีวิตนี้เป็นทุกข์ก็จะหนีทุกข์ด้วยการดับชีวิต (ฆ่าตัวตาย) จะดับวิญญาณหลังตาย หรือจะดับชีวิต ก็ล้วนแต่เป็นเป็นสีลพตปรมาสทั้งสิ้น (เป็นการปฏิบัติดับทุกข์ที่ผิด)
-แก่นคำสอนพุทธ สอนเรื่องกรรมคือการกระทำ มีกรรมดี กรรมชั่ว และการสิ้นกรรม เป็นโลกุตรธรรม ยึดมั่นในหลักอนัตตาสามารถทำได้ในชีวิตนี้ ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ตอนเป็นๆ แล้วจะไม่เกิดอีก คือไม่เกิดตัวกู ของกู อีกต่อไป จึงมีชีวิตอยู่ในโลกโดยไม่มีทุกข์ พุทธสอนเพื่อยกระดับจิตใจของมหาชนให้พ้นความโง่งมงาย (ดับอวิชชา) เลิกกลัวพระเจ้า เทวดาภูตผีปีศาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวัตถุมงคล พุทธมีแต่ธรรมมงคล ๓๘ ประการ เท่านั้น ไม่มีวัตถุมงคล พุทธสอนให้มหาชนมีชีวิตอิสระและปราศจากทุกข์ในชีวิตนี้ ไม่ว่าเป็นชาวบ้านหรือนักบวช ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ถ้ามีสติปัญญาเพียงพอที่จะดับอวิชชาได้ ก็สามารถเข้าถึงนิพพานคือความดับทุกข์ได้เหมือนกันหมด ดังมีพุทธภาษิตว่า “คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนบรรลุถึงวิมุตติแล้วในวันนี้ ไม่แตกต่างจากพระภิกษุบรรลุถึงวิมุตติมาแล้ว ๑๐๐ ปี” เจริญพร (ธรรมบท ขุททกนิกาย)
๑๐.พราหมณ์สอนว่ามีเทวดา ๔ องค์ เรียกว่าจาตุโลกบาลทั้ง ๔ เป็นผู้รักษาคุ้มครองโลกทั้ง ๔ ทิศ -พุทธศาสนาสอนว่า หิริ ความละอายต่อบาป และโอตตัปปะ ความกลัวต่อบาป เป็นผู้รักษาคุ้มครองโลกทั้ง ๔ ทิศ พระอาจารย์เมธา ชาตเมโธ (๑๗ ส.ค.๕๖)
ศูนย์โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทยเปิดสอนหลักสูตร ดวงตาเห็นธรรม ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.ที่วัดกระโจมทอง บางกรวย นนทบุรี สนใจสมัครเรียนได้ที่ น.ส.พวงศรี ธานีโต โทร.๐๘ – ๐๑๒๔ – ๘๒๓๕ (หัวหน้าชั้น)
ดวงวิญญาณไม่มีในพุทธแท้
ดวงวิญญาณไม่มีในพุทธแท้
พระเมธา ชาตเมโธ
เรื่อง “วิญญาณ” เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากในการศึกษาพุทธศาสนา เพราะถ้าไม่เข้าใจ คำว่า วิญญาณ อย่างถูกต้องแล้ว จะไม่มีทางเข้าใจพุทธศาสนาได้เลย และจะเป็นกำแพงกั้นทางมรรคผลนิพพาน (ทางดับทุกข์) ของตนเองไปในทันที ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องตอกย้ำเรื่อง วิญญาณ กันอยู่เสมอ ๆ ให้ชาวพุทธได้มีความเห็นถูกในเรื่องวิญญาณเสียก่อน จึงจะเข้าสู่สารสำคัญของพุทธศาสนาได้โดยง่ายพระเมธา ชาตเมโธ
การศึกษาวิชาการใดๆ ก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือจะต้องปูพื้นฐานให้ถูกต้องมั่นคงเสียก่อนเสมอ มิฉะนั้นแล้ว ก็จะไม่สมารถศึกษาให้ถูกต้องต่อไปในระดับสูงได้ จำเป็นจะต้องเรียนรู้ศัพท์เทคนิคในวิชาการนั้นๆ เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความาเข้าใจคำนั้นๆ ตรงกันเสียก่อนจึงจะเข้าใจในวิชานั้นๆ ต่อไปได้
ศาสนาในโลกนี้แบ่งได้เป็น ๕ ประเภท คือ
๑.ศาสนาธรรมชาตินิยม (Naturalism)
เกิดจากมนุษย์ยุคคนป่า ที่ไม่มีความรู้เรื่องของปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่นฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า อุทกภัย วาตภัย อักคีภัย ทุพภิกขภัย (ความอดอยาก) แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด โรคระบาด โจรภัย หรือภัยจากสงคราม ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เป็นต้น มนุษย์ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ มนุษย์ก็จะเกิดความกลัว และต้องการที่พึ่งทางจิตใจ จึงมีการไหว้กราบบูชา ติดสินบน ต่ออำนาจลึกลับของธรรมชาติเหล่านี้ เช่นต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ฝน ฟ้าผ่า ลมพายุ ไฟ ภูเขาไฟ เป็นต้น บางครั้งก็มีการบูชายัญด้วยเลือดและชีวิตของสัตว์และมนุษย์ เพราะเชื่อว่าทำให้ตนและพวกของตนปลอดภัย
๒.ศาสนาวิญญาณนิยม (Animism) และไสยศาสตร์ (Black magic)
เมื่อมนุษย์เห็นปรากฏการณ์ การเกิด การตาย ความฝัน และจินตนาการเรื่องภายหลังความตาย (Reincarnation) หรือเรื่อง การเกิดใหม่ (Rebirth) เช่นมนุษย์ฝันไปในขณะที่นอนหลับไม่สนิท (Dreaming mind: Semi-conscious) ก็เข้าใจว่า วิญญาณตัวรู้ (Soul) ออกจากร่างไปเที่ยว หรือไปล่าสัตว์ แล้วกลับมาเข้าร่างจึงตื่นขึ้นมา ถ้าวิญญาณออกจากร่างไปแล้วกลับเข้าร่างไม่ถูก คนๆ นั้นก็จะตาย เป็นต้น นี่คือความคิดวิญญาณนิยม เชื่อเรื่องวิญญาณเที่ยง วิญญาณเป็นตัวตน สามารถเดินทางไปหาร่างใหม่ได้หลังจากตายแล้ว ความคิดนี้เริ่มต้นครั้งแรกในโลกเมื่อ ๕๐,๐๐๐ – ๓๐,๐๐๐ ปี ในยุคของมนุษย์ถ้ำนีแอนเดอร์ธัล ในยุโรปใต้ หลังจากนั้นก็ถึงยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย เกิดอากาศหนาวรุนแรงและขาดแคลนอาหาร ทำให้มนุษย์ถ้ำนีแอนเดอร์ธัลสูญพันธุ์ นักมานุษยวิทยาและโบราณคดี ได้พบหลุมฝังศพของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล มีเครื่องมือ อาวุธที่ทำด้วยหิน กระดูกของสัตว์เลี้ยง เพื่อให้ผู้ตายนำไปใช้ในชีวิตภายหลังความตายด้วย นี่เป็นหลักฐานการจินตนาการของมนุษย์ยุคหินเก่า เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องหลังความตายเป็นครั้งแรกของโลก ต่อมาความเชื่อนี้ก็พบได้ในมนุษย์ยุคปัจจุบันเช่น ความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ เมื่อ ๕,๐๐๐ ปี ได้สร้างปิระมิด และทำมัมมี่เก็บศพไว้ไม่ให้เน่าเปื่อย เพื่อหวังให้วิญญาณผู้ตายได้กลับมา และมีชีวิตขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ที่ประเทศจีนเมื่อ ๓,๐๐๐ ปี สมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ก็มีจินตนาการเช่นเดียวกัน มีการทำมัมมี่ไว้ เมื่อฮ่องเต้สิ้นพระชนม์ ได้มีการฝังนางสนมทั้งเป็น ๑๐๐ คนในหลุมเดียวกันเพื่อให้ไปรับใช้ฮ่องเต้ในโลกหน้า และต่อมาพวกทหารเสนาอำมาตย์ได้จ้างให้ช่างปั้นทำเป็นหุ่นเครื่องปั้นดินเผาแทน ตัวเองจะได้ไม่ต้องถูกฝังทั้งเป็น พบหุ่นดินเผาดินเผา ๓ หลุม กว้าง ๕๐ เมตร ยาวขนาด ๑๕๐ เมตร มีทหารทุกชั้นยศ รถม้า ม้า อาวุธต่าง รวมทั้งสิ้นกว่า ๘,๐๐๐ ชิ้น เป็นต้น
ไสยศาสตร์ (Black magic) เกิดขึ้นจากหมอผี ซึ่งเป็นหมอกลางบ้าน ที่รักษาโรคด้วยสมุนไพร และอำนาจของวิญญาณ พวกนี้จะให้กำลังใจคนไข้ด้วยการทำพิธีไสยศาสตร์ ปัดเป่าโรคภัยต่างๆ แต่ไสยศาสตร์บางลัทธิจะใช้ไสยศาสตร์ไปในทางลบ เช่นทำให้คนที่เป็นศัตรูกันตายวันตายคืน เป็นต้น ที่ใช้ไปในทางบวกเช่น ทำให้คนรักคนหลง เป็นต้น ทั้งทางบวกและทางลบก็เป็นฝ่ายกิเลสทั้งคู่ สำหรับศาสนาพุทธพระพุทธเจ้าห้ามพระสาวกทำพิธีไสยศาสตร์ พระองค์ทรงตำหนิว่าเป็น เดรัจฉานวิชา คือ วิชาที่ขัดขวางพระนิพพาน หลักฐานอยู่ใน มหาศีล พรหมชาลสูตร เล่ม๙ เมื่อเราเห็นพระภิกษุทำพิธีไสยศาสตร์อย่าเข้าไป นั่นเป็นงานหลอกลวงประชาชนไม่ใช่พุทธศาสนา เป็นบาปไม่ได้บุญ
๓.ศาสนาเทวนิยม (Theism)
พวกที่เชื่อว่าวิญญาณเป็นตัวตน หรือ ตัวรู้ (Soul) ในโลกของวิญญาณจะต้องมีวิญญาณชั่ววิญญาณดี จะต้องมีวิญญาณที่มีอำนาจเป็นผู้ปกครองวิญญาณทั้งปวง จึงมีชนชั้นของวิญญาณขึ้น เช่น วิญญาณ บรรพบุรุษ เจ้าพ่อเจ้าแม่ ผี เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เทวดา นางฟ้า รูปพรหม อรูปพรหม พระเจ้า เป็นต้น มีความเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกสร้างมนุษย์ ศาสนาเทวนิยมแบ่งเป็น ๒ พวกคือ.-
๑.พหุเทวนิยม (Many Gods) มีเทพเจ้าหลายองค์ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ศาสนาของกรีกโบราณ เป็นต้น ที่มีพระเจ้าหลายองค์ก็เพราะ รวบรวมเอาความเชื่อเรื่องพระเจ้าในท้องถิ่นต่างๆ มารวมกันเพื่อให้เป็นศาสนาเดียวกัน
๒.เอกเทวนิยม (Mono Gods) มีเทพเจ้าองค์เดียว เช่น คริสต์ อิสลาม เป็นต้น ที่มีพระเจ้าองค์เดียวก็เพื่อให้คนที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ มามีพระเจ้าองค์เดียวกัน เพื่อความสามัคคี เพื่อให้เกิดลัญลักษณ์ และรวมกำลังกันในการทำสงครามระหว่างศาสนา เป็นต้น
๔.ศาสนาอเทวนิยม (Atheism) ศาสนาที่ไม่มีพระเจ้า โลกและมนุษย์เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยแห่งธรรมชาติ เมื่อมีเหตุปัจจัยทุกสิ่งทุกอย่างก็เกิด เมื่อสิ้นเหตุปัจจัยทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับ ทั้งรูปและนาม (ร่างกายและจิตใจ) เป็นสังขตธรรม ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ที่เข้าใจผิดกันมากก็คือ เชื่อว่า เมื่อรูปคือร่างกายดับแล้วนามคือจิตใจ ไม่ดับไปด้วย แต่จะล่องลอยไปแสวงหาที่เกิด เรียกว่า สัมภเวสี ผู้แสวงหาภพวิญญาณอัตตาเที่ยงเป็นอมตะ (Immortal Soul) และถ้าผู้ใดเห็นว่า วิญญาณอัตตา ดับสูญ เรียกว่า อุทเฉททิฏฐิ (Annihilationism) เห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิเท่ากันทั้งคู่
๕.ศาสนาสัจนิยม (Realism) ได้แก่พุทธศาสนา แปลว่าศาสนาของผู้รู้ถูก คือถูกต้องตามความเป็นจริง ในเรื่องของชีวิต ปัญหาของมนุษย์คือเรื่อง ทุกข์ และความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ในอดีตก็ตามในปัจจุบันก็ตามเราบัญญัติสอนแต่เรื่องทุกข์และความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น” จะแก้ปัญหาเรื่องทุกข์ได้จะต้องรู้ความจริงในเรื่องของชีวิต อย่างเป็น ปรมัตถสัจจะ (Absolute truth) คืออย่างถูกต้องสูงสุด หรือ ถูกต้องขั้นสุดท้าย (Ultimate truth) ถูกต้องยิ่งกว่านี้ไม่มีแล้ว และความจริงขั้นสูงสุดเช่นนี้ย่อมเป็น ความจริงสากล (Universal truth) ที่มนุษย์ทุกเชื้อชาติ ทุกภูมิภาค ทุกเพศ ทุกสีผิว ทุกศาสนา สามารถเข้าถึงได้
มนุษย์จะต้องไม่รังเกียจกันด้วยสีผิว หรือการนับถือศาสนา เพราะจะทำให้มนุษย์เห็นแก่ตัวและเบียดเบียนกัน มนุษย์ควรจะเข้าถึงสัจธรรมที่เป็นสัจธรรมสากล แล้วมนุษย์ก็จะมีศาสนาเดียวกันทั้งโลก
คำว่าพระเจ้ามี ๒ ความหมายคือ
๑.พระเจ้าภาษาคน หมายถึง บุคคลสมมุติ (Personal Gods) ประทับอยู่บนสวรรค์ เช่น พระพรหม พระยโฮวา พระอัลเลาะห์ เป็นต้น เข้าถึงได้หลังความตาย
๒.พระเจ้าภาษาธรรม หมายถึง สภาวธรรมที่บริสุทธิ์ (Purification Gods) ประทับอยู่ที่จิตมนุษย์ เข้าถึงได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
เทวดาในพุทธศาสนามี ๓ ความหมาย คือ
๑.สมมุติเทพ (Convention Gods) ได้แก่พระราชา พระมหากษัตริย์ เศรษฐี มีทรัพย์ใช้ไม่หมดโดยไม่ต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ
๒.อุปัตติเทพ (Gods by Rebirth) เกิดแบบโอปปาติกะ ไม่ต้องมีพ่อแม่ เกิดจากอำนาจของกรรม เกิดแล้วโตทันที กิเลส คือ กรรม จำแนกสัตว์ ให้หยาบและประณีต กิเลสดีกรรมดีภพชาติเป็นสวรรค์ ได้แก่ หิริ ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ ความกลัวต่อบาป ผู้นั้นก็จะมีภพชาติเป็นเทวดา ถ้ามีพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้นั้นก็มีภพชาติเป็นพรหม เป็นต้น
๓.วิสุทธิเทพ (Purification Gods) เป็นเทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นต้น
เทวดาในศาสนาเทวนิยม เช่น พระพรหม พระอินทร์ พระวิษณะ พระศิวะ พระกาฬ พระยมบาล พระจาตุโลกบาล เทพอะพอลโล่ สุริยเทพฯลฯ ภรรยาและลูกหลานเทวดาเหล่านี้เป็นเทวะในศาสนาที่เป็นเทวนิยม รวมทั้ง นรก ๘ ขุม สวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น นั่นเป็นของศาสนาพราหมณ์ ไม่มีในพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาเป็นอเทวนิยม เรื่องราวในนิทานชาดก หรือในบางสูตรกล่าวถึงเทวดาของศาสนาพราหมณ์เพราะมีผู้ใส่เข้ามาในภายหลัง ทำให้ชาวพุทธสับสน
จุดหมายสูงสุดของทุกศาสนาเรียกว่า Supreme goal หรือ Summum Bonum เรียกชื่อต่างๆ กัน เช่น พรหม ก็อด อัลเลาะห์ ไกวัลย์ โมกษะ นิพพาน นิรวาน ฯ ชื่อที่เรียกนั้นไม่สำคัญ แต่สำคัญที่สภาวธรรม พระเจ้าในความหมายของสัจธรรมสากลนั้นคือ จิตบริสุทธิ์ (Purification of mind) ผู้ใดทำจิตให้บริสุทธิ์ได้ผู้นั้นก็จะเห็นพระเจ้า พบพระเจ้า หรือเข้าถึงพระเจ้า ผู้ใดปล่อยให้จิตไม่บริสุทธิ์ด้วย กิเลส โลภ โกรธ หลง ผู้นั้นก็จะอยู่กับมารา, ไซตอน (Devil) ย่อมเห็นแก่ตัวเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เวียนว่ายอยู่ในโลกแห่งความทุกข์ ผู้ใดมีจิตที่บริสุทธิ์ ผู้นั้นก็จะไม่เห็นแก่ตัว ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เวียนว่ายอยู่ในโลกแห่งความสุข และโลกที่เหนือความสุขความทุกข์ ความสุขสูงสุดของมนุษย์คือ นิพพานสุข (Nibbana,Nirvana) เป็นสุขที่แท้สุขที่เที่ยงของมนุษย์เมื่อสุขแล้วสุขตลอดไปไม่กลับมาเป็นทุกข์อีก (Spiritual happiness)
ศาสนาสากลของมนุษย์คือ ศาสนาสุญญตา (Anothingness) ศาสนาแห่งความว่าง (Emptiness) คือว่างจาก อวิชชา หรือความมืด และอยู่กับ วิชชา หรือแสงสว่างนั่นเอง เรื่องเข้าใจตรงกันเป็นสัจธรรมสากลแล้ว จะเรียกชื่อว่า พรามหณ์ ฮินดู คริสต์ อิสลาม พุทธ ซิกส์ บาไฮ เรียกพรหม โมกษะ ไกวัลย์ อัลเลาะห์ พระเจ้า นิพพานก็ไม่เป็นไร แต่จะต้องมความหมายตรงกันที่ จิตบริสุทธิ์ เมื่อมนุษย์เข้าถึงพระเจ้าคือจิตบริสุทธแล้ว สัจธรรมก็จะตรงกันหมด จิตมนุษย์ก็จะหลุดพ้น (วิมุตติ) เหมือนกันหมด (Freedom of mind) ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของมนุษย์ทั้งโลก
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติในโลกุตรธรรม ๔ ประการคือ
๑.สันติภาพส่วนบุคคุล จิตถึงนิพพาน
๒.สันติภาพส่วนสังคม ศีลธรรมในสังคมมั่นคงอย่างยิ่ง
๓.สันติภาพของโลก ยุติสงครามทุกชนิด ปัองกันสงครามนิวเคลียร์ล้างโลก
๔.ช่วยกู้พุทธศาสนาที่แท้จริงกลับคืนมา เป็นแสงสว่างส่องโลก
ชาวพุทธไทยจะต้องทำความเข้าใจ คำว่า “วิญญาณ” ให้ชัดเจน ในพุทธศาสนา มีคำไวพจน์อยู่หลายคำ เช่น มโน หทัย จิต ใจ มนัส วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ปฏิสนธิวิญญาณ นาม อรูป เป็นต้น จะเรียกอย่างไรก็ได้ แต่จะต้องมีความหมายว่า รู้แจ้ง (Consciousness) คือการรู้แจ้งอารมณ์ ๖ คือ รู้แจ้งรูปารมณ์ (แสงสี) ทางตา เรียกว่า จักขุวิญญาณ (Eye-conscious) รู้แจ้งสัททารมณ์(เสียง)ทางหู เรียกว่า โสตวิญญาณ (Ear-conscious) รู้แจ้งคันธารมณ์(กลิ่น)ทางจมูก เรียกว่า ฆานวิญญาณ (Nose-conscious) รู้แจ้งรสารมณ์(รส)ทางลิ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ (Tongue-conscious) รู้แจ้งโผฏฐัพพารมณ์ (สัมผัส) เรียกว่า กายวิญญาณ (Body-conscious) รู้แจ้งธรรมมารมณ์ (ความคิด) เรียกว่า มโนวิญญาณ (Mind-conscious) วิญญาณเช่นนี้คือ ธาตุรู้ (Conscious element) เป็นคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิตไม่มีวิญญาณ นี่เป็นหลักการสำคัญที่เป็นหัวใจแห่งความเข้าใจพุทธศาสนาที่แท้จริงต่อไป
จะเห็นได้ว่า วิญญาณ เป็นหน้าที่ของจิต มี ๖ ชื่อเท่านั้น เรียกตามทวารหรืออายตนภายใน
๖ ส่วนวิญญาณอื่น ที่หมายถึงอัตตา ผี เจตภูต อาตมัน ปิตระ สัมภเวสี กายทิพย์ เป็นต้น นั้นเป็น ตัวรู้ (Soul ; Spirit) หรือ วิญญาณอมตะ (Immortal soul) ไม่ใช่วิญญาณธาตุรู้ในความหมายทางพุทธศาสนา เป็นวิญญาณของลัทธิศาสนาประเภท วิญญาณนิยม (Animism) ที่เชื่อว่า วิญญาณ เป็นอัตตาที่เที่ยง เป็นอมตะ สามารถลอยออกจากร่างกายได้ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยร่างกาย และศาสนาประเภท เทวนิยม (Theism) ที่สอนให้เชื่อว่ามีพระเจ้าสร้างโลกสร้างมนุษย์ เมื่อสร้างมนุษย์ขึ้นใหม่ๆ มนุษย์ จะไม่มีชีวิตจิตใจ พระเจ้าจะต้องมอบ วิญญาณอัตตา (Soul) ของพระเจ้าให้มนุษย์ ทำให้มนุษย์มีชีวิตขึ้นมา เมื่อมนุษย์ตายวิญญาณอัตตาก็กลับไปอยู่กับพระเจ้า ศาสนาเทวนิยม จะสอนให้เชื่อวิญญาณอัตตาของพระเจ้าโดยไม่ต้องมีเหตุผล (Dogma) ใช้ศรัทธาอย่างเดียวไม่ต้องใช้ปัญญา ไม่ต้องมีเหตุผล
ส่วนพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภท สัจจนิยม (ReaIism) ยึดความจริงเป็นหลัก เห็นว่า วิญญาณ (Consciousness) คือ ธาตุรู้ (Conscious Element) มีอยู่กับสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น จะอยู่เป็นเอกเทศปราศจากร่างกายไม่ได้ รูปกับนามจะต้องอยู่ด้วยกันอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน พุทธศาสนาเรียกว่า นามรูป ถ้ามีรูปอย่างเดียวก็เป็นสิ่งทีไม่มีชีวิต ถ้ามีรูปกับนามก็เป็นสิ่งที่มีชีวิต ถ้าแบ่งชีวิตเป็น ๒ ก็คือ นามรูป ถ้าแบ่งชีวิตเป็น ๕ ก็คือ ขันธ์ ๕ (รูป๑ นาม๔) จะมีนามอยู่ตามลำพังหาได้ไม่
พุทธศาสนาเป็น มนุษย์นิยม (Humanism) ถือว่ามนุษย์มีศักยภาพเหนือสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์เท่านั้นที่เป็นเวไนยสัตว์ นอกนั้นมีสัตว์นรกและเทวดาเป็นต้น เป็นอภัพพสัตว์ เป็นผู้ที่รู้แจ้งธรรมไม่ได้
เจ้าชายสิทธัตถะเป็นมนุษย์ปุถุชน แต่มีความเพียรพยายามที่จะปฏิวัติตนเองจน สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าๆ จึงเป็นมนุษย์ปฏิวัติคนแรกของโลก เมื่อพระองค์ดับทุกข์ได้สำเร็จพระองค์ก็มีพระมหากรุณา มีพระประสงค์จะช่วยมนุษย์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์อย่างพระองค์บ้าง พระองค์จึงได้เป็นภควา ผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ให้ถึงฝั่งคือ มรรคผล นิพพาน โดยตรงเรียกว่า โลกุตรธรรม และประกาศพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือนสาม มาฆมาส ท่ามกลางพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ องค์ ที่วัดเวฬุวัน แขวงเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในชมพูทวีป (อินเดียปัจจุบัน) การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นความสามารถของมนุษย์ล้วนๆ ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากเทวะเทวดาพระเจ้าที่ไหนเลย
ศาสนาเทวนิยมทั้งหลายสอนว่าเทวดา พรหม พระเจ้าฯ เป็นภพชาติที่สูงที่สุด แต่ทางพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์เป็นภพชาติที่สูงที่สุด มนุษย์มีศักยภาพและความสามารถเหนือภพภูมิทั้งหลาย มนุษย์ มาจากคำว่า มนะ แปลว่า ใจ และ อุษยะ แปลว่าสูง มนุษย์จึงแปลว่าผู้มีใจสูง อย่างน้อยจะต้องมีศีล ๕ หรือ กุศลกรรมบถ ๑๐ จึงจะเรียกว่า มนุษย์ ถ้าใจต่ำไม่มีศีลธรรม ผู้นั้นก็เป็นได้เพียงคน และเป็นคนชั่วเสียด้วย ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์
คน ก็คือสัตว์โลกชนิดหนึ่ง เดิน ๒ ขา ลำตัวตั้งฉากกับพื้นโลก มีสัญชาตญาณคือ กิน พักผ่อน สืบพันธุ์ หนีภัย มีความเห็นแก่ตัวจัด จิตใจโหดร้าย ไม่มีศีลธรรม อย่างนี้เป็นได้แต่เพียงคน ยังห่างไกลความเป็นมนุษย์
เมื่อ ๘๐,๐๐๐ ปี ยุคฮาโลซีน มนุษย์รู้จักเลี้ยงปศุสัตว์และเพาะปลูก ทำให้มนุษย์รู้จักตั้งหลักแหล่ง ไม่ต้องเร่ร่อนตามฝูงสัตว์อีกต่อไป มนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นหมู่บ้าน เป็นชุมชน เพื่อความสงบสุขของสังคม มนุษย์จะต้องมีการปกครอง ต้องมีกฎระเบียบ ซึ่งต่อมาได้ตราขึ้นเป็นกฎหมาย ผู้ใดทำผิดกฎหมาย ทำให้สังคมเดือดร้อน ทำให้เกิดปัญหาสังคม ผู้นั้นจะต้องได้รับการลงโทษ ตามควรแกกรณี ศีล ๕ เป็นศีลของสังคม คือคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปเรียกว่าสังคม จะต้องมีศีล๕ ถ้าไม่มีศีลแม้แต่เพียงคนเดียว สังคมนั้นก็จะเดือดร้อน หาความสงบสุขไม่ได้ สังคมใดมีศีล ๕ สังคมนั้นชื่อว่าเป็นสังคมของผู้เจริญ จึงเรียกว่าเป็นสังคมของมนุษย์ มนุษยภูมิเป็นเวเนยสัตว์ ผู้สามารถบรรลุถึงธรรมวิเศษได้ มนุษย์เป็นสุคติภูมิที่จะพัฒนาไปสู่โลกุตรภูมิ มรรค ผล นิพพานได้ต่อไป ศีล ๕ จึงเป็นมนุษยธรรมเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีมาตั้งแต่ยุคฮาโลซีนซึ่งเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนพุทธศาสนาหลายพันปี
ชาวพุทธควรทำความเข้าใจคำว่า วิญญาณ ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น ก็จะกลายเป็นชาวพุทธแต่ปากส่วนใจนั้นเป็นพราหมณ์
คำว่า วิญญาณ มาจากคำว่า วิ แปลว่า แจ้ง และ ญาณะ แปลว่า รู้ วิญญาณ จึงแปลว่า รู้แจ้ง วิญญาณ มี ๒ ความหมายคือ
๑. วิญญาณ (Consciousness) หรือ วิญญาณอนัตตา (Soulless) คือการรู้แจ้งอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ เป็นธาตุรู้ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต คือ คนเป็นๆ เท่านั้น ส่วนคนตายไม่มีธาตุรู้ ดังพุทธภาษิตในบทสวดมนต์ที่ว่า “อจิรัง วตยังกาโยฯ” แปลว่า “คนตายปราศจากวิญญาณ เหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน อันเขาทิ้งเสียแล้ว วางอยู่บนพื้นดิน หาประโยชน์อะไรมิได้” นั่งคือคนตายไม่มีวิญญาณ และ “มรณปริโยสานัง เม ชีวิตัง” ชีวิตมีความตายเป็นที่สุดรอบ ไม่มีชีวิตภาค ๒ ภาค ๓ หรือภาคต่อๆ ไป วิญญาณธาตุรู้นี้ เป็น สังขตธรรม (Conditioned thing) คือธรรมที่อาศัยปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น เมื่อสิ้นเหตุปัจจัย ก็ดับไปเป็นธรรมดา ดังพุทธภาษิต ว่า “ปฏิจจสมุปปันนัง วิญญาณัง อัญญัตร ปัจจยัง นัตถิ วิญญาณัสสะ สัมภโว” แปลว่าวิญญาณเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เมื่อสิ้นเหตุปัจจัย วิญญาณก็ดับ แต่ปัจจุบันมีคำสอนเหลวไหล สอนว่าตายแล้ววิญญาณไม่ดับ มีดวงวิญญาณล่องลอยไปหาที่เกิด (Transmigration Soul) เรียกว่าสัมภเวสี มีชนกกรรม กรรมให้ผลชาตินี้ กรรมให้ผลชาติหน้า กรรมให้ผลชาติต่อๆ ไป นี่ไม่ใช่สัจธรรม ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
วิญญาณมาจากไหน? เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดวิญญาณ คือ.- ๑.ชีวิต ๒.อายตนะภายใน (อินทรีย์ ๖) ๓.อารมณ์ (อายตนภายนอก ๖ ) ๔.ความตั้งใจ (โยนิโสมนสิการ) ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใดวิญญาณก็ดับ วิญญาณเกิดขึ้นแบบปฏิจจสมุปปันธรรม นั่นคือ สิ่งนั้นไม่ได้มีอยู่ก่อน แต่จะเกิดขึ้นเมื่องมีปัจจัยมาประชุมกันครบถ้วน ถ้าขาดเหตุปัจจัย อย่างหนึ่งอย่างใดสิ่งนั้นก็ดับ เมื่อใดที่ไหนมีเหตุปัจจัยพร้อมก็เกิดขึ้นอีก
เช่นเดียวกับไฟ ไม่ได้มีอยู่ก่อน แต่เมื่อมีปัจจัย หรือองค์ประกอบของไฟ ๓ อย่างคือ ๑.เชื้อเพลิง ๒.อ็อกซิเจน ๒๑ % ในบรรยากาศ ๓.อุณหภูมิ ถึงจุดติดไฟ ในที่ใดในโลกก็ตาม ก็เกิดไฟ แต่ถ้าขาดปัจจัยอย่างหนึ่งอย่างใด ในที่ใดก็ตาม ไฟก็จะดับไป และเมื่อมีปัจจัย หรือองค์ประกอบของไฟพร้อมเมื่อใด ณ ที่ใดก็ตาม ไฟก็เกิดขึ้น มิใช่ไฟเก่ามาเกิดใหม่ ใช่หรือไม่? ธรรมะของพระพุทธเจ้าจะต้องเข้าหลักตัดสินพระธรรม เป็นสันทิฏฐิโก สามารถพิจารณาเห็นจริงได้ด้วยปัญญาตนเอง และเอหิปัสสิโก สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดในทุกเวลา เข้าหลักอกาลิโก ไม่ขึ้นอยู่กับการเวลา อีกด้วย
วิญญาณอนัตตา นั้นเป็นวิญญาณธาตุรู้ ที่เป็น สังขตธรรม (Conditioned thing) ซึ่งมีคำจำกัดความว่า “มีการเกิดขึ้น มีการดับไป เมื่อตั้งอยู่ปรากฏความแปรปรวน”
พระพุทธเจ้าสอนว่า “สัพเพ สังขารา อนิจจา (ไม่เที่ยง) สัพเพ สังขารา ทุกขาติ (ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ (ไม่ใช่ตัวตนจริง) สิ่งปรุงทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งปรุงทั้งหลายทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และธรรมทั้งหลายคือทั้งสิ่งปรุงและสิ่งไม่ปรุง ไม่ใช่ตัวตนจริง ในเมื่อ ร่างกาย และจิตใจ (วิญญาณ) ทั้งรูปทั้งนาม เป็นสังขตธรรม (สังขาร) ทั้งคู่ ไม่ใช่ว่า ร่างกายไม่เที่ยงเป็นอนัตตา แต่จิตใจนั้นเที่ยงเป็นอัตตา แท้จริงแล้ว ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เที่ยงทั้งคู่ เป็นอนิจจังทั้งคู่ เป็นอนัตตา ทั้งคู่
แต่ในปัจจุบันที่สอนพุทธศาสนากันอยู่มักจะสอนกันผิดๆ ว่า ร่างกายไม่เที่ยง แต่จิตใจเที่ยง นี่คือคำสอนที่ผิดไม่เป็นสัจธรรม หรือว่า จิตพระอรหันต์ไม่เที่ยง (ตายแล้วดับสูญ) จิตปุถุชนเที่ยง (ตายแล้วไปเกิดอีก) นั้นเป็นความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)
ร่างกายและจิตใจไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์หรือเป็นปุถชนไม่เที่ยงทั้งคู่ เป็นสังขตธรรมทั้งคู่ ซึ่งอยู่ในกฏของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ คือ ๑.ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ๒.ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) ๓.ไม่ใช่ตัวตนจริงตามสมมุติเรียกขาน (อนัตตา) คำสอนที่ว่า ร่างกายไม่เที่ยงแต่จิตเที่ยง นั้น จึงเป็นอสัจธรรม เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่พุทธศาสนา
“วิญญาณพุทธนั้นหรือคือธาตุรู้
ไม่มีอยู่ในคนตายคลายสงสัย
เมื่อตายแล้ววิญญาณลับดับตามไป
ตามร่างกายสลายได้อนิจจัง
สิ่งไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์อนัตตา
ใช้ปัญญาเห็นได้จริงสิ่งที่หวัง
ย่อมแปรปรวนเปลื่ยนแปลงได้ทุกครั้ง
ควรหยุดยั้งตรองตรึกนึกให้ดี
ถ้ายึดมั่นมันแต่น้อยไม่ค่อยทุกข์
ไม่ยึดเลยย่อมเป็นสุขเกษมศรี
ถอนอุปาทานขันธ์ห้านั้นยอดดี
เป็นจุดหมายชาวพุทธชี้ชาตินี้เอย” (พล.ต.เดช ตุลวรรธนะ)
๒. วิญญาณ (Soul) หรือ วิญญาณอัตตา เป็นวิญญาณที่เป็นตัวตน (ตัวรู้,ผี,เจตภูต) ที่เป็นอมตะไม่ตาย อยู่เหนือกฏไตรลักษณ์ เมื่อร่างกายตายไป วิญญาณอัตตาก็จะล่องลอยออกจากร่างไปเกิดใหม่ หรือไปอยู่กับพรหม หรือไปอยู่กับพระเจ้าบนสวรรค์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เป็นชีวิตนิรันดร หรือว่าวิญญาณได้ดับลงไม่ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ตามคำสอนในศาสนาวิญญาณนิยมและเทวนิยม (วิญญาณไปอยู่กับพระเจ้ามีชีวิตนิรันดร์) เช่นคัมภีร์อุปนิษัท และภควัคคีตาของศาสนาพราหมณ์ คริสต์ อิสลาม เป็นต้น
ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism)
อุปนิษัท อธิบายว่า “ความทุกข์เกิดจากชีวิตที่ยังมีความเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการกระทำของเรา คือ กรรม แต่มีทางจะหลุดพ้นได้ เป็น โมกษะ ได้อย่างเด็ดขาด คือความหมดทุกข์และเสวยสุขเป็นนิตยกาลได้ “
“จะถึงวิมุตติได้ จะต้องรู้แจ้งพระวิญญาณอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า ปรมาตมัน หรือ พรหม จะต้องทำชีวิตให้บริสุทธิ์ เพ่งอยู่เป็นนิตย์ (นิทิธยาสนะ) “
อุปนิษัท กล่าวว่า “อาตมันเป็นอิสระจากร่างกายไม่มีตาย อาตมันเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณอันยิ่งใหญ่ คือปรมาตมัน ที่แตกออกมา เมื่อเพ่งพิจราณาจนหมดกรรมแล้ว อาตมันก็จะกลับไปรวมกับปรมาตมันอีกครั้งหนึ่ง คือเข้าถึง โมกษะ (นิรวาณ)”
หลักการมูลฐานของอุปนิษัท นี้ได้แทรกซึมเข้าไปในปรัชญาสาขาต่างๆ ของอินเดียในปัจจุบัน อุปนิษัท ก็เหมือนเทวนิยมทั่วไป คือใช้ศรัทธาอย่างเดียวโดยไม่ต้องมีเหตุผล
ศาสนาฮินดู คือศาสนาพราหมณ์ใหม่ (Neo Brahmanism) ยึดหลักศาสนาพราหมณ์ สอนวิญญาณเป็นตัวตน หลักอัตตา การเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณอัตตา การบูชาอ้อนวอนเทพเจ้า การแบ่งชั้นวรรณะ เป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม ที่พยายามรวมรวมลัทธิต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเดียทั้งหมดให้เป็นศาสนาเดียวกัน ศาสนาฮินดูมีความยืดหยุ่นมาก พร้อมที่จะกลืนศาสนาอื่นได้ง่าย แม้แต่พุทธศาสนาซึ่งเป็น อเทวนิยม (Atheism) ก็ยังถูกกลืน โดยการแต่งเรื่องนารายณ์อวตาร ๑๐ ปางของท่านสังกราจารย์ผู้นำฮินดู ปางที่ ๙ ชื่อว่าพุทธอวตาร พระนารายณ์อวตารมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า สอนคนผิดๆ ให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทำให้คนต้องตกนรกเป็นจำนวนมาก ทำให้พุทธศาสนาหมดสิ้นไปจากอินเดียมาแล้ว (พุทธศาสนาเคยหมดไปจากอินเดียนาน ๘๐๐ ปี)
ในคัมภีร์ภควัคคีตา หรือบทเพลงแห่งพระเจ้า มีหลักสำคัญ ๔ ประการคือ
๑.วิญญาณคืออาตมัน (Soul) และปรมาตมัน (Super soul) เป็นวิญญาณสูงสุด
๒.ความเป็นอนิจจังของวัตถุโลกธาตุ
๓.วัฏฏจักรของวิญญาณอัตตา (การเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณอัตตาหลังตาย)
๔.ความเพียรพยายามตัดวงล้อของวัฏฏจักรของวิญญาณอัตตานั้น
เรื่องวิญญาณอัตตา และเทพเจ้าต่างๆ เป็นเพียงจินตนาการของมนุษย์ตามความเชื่อของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งทั่วโลกสอนให้เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอัตตา และเทพเจ้าที่ไม่เหมือนกัน เช่นศาสนาพรามหมณ์สอนว่า เมื่อคนตายแล้ววิญญาณอัตตาจะออกจากร่างไปเกิดในร่างใหม่ ในภพภูมิต่างๆ ๓๑ ภูมิ คือ
อบายภูมิ ๔ สุคติภูมิ ๗ รูปพรหม ๑๖ อรูปพรหม ๔ และชั้นสุทธาวาสเปรียบเหมือนวัดสำหรับให้วิญญาณนักบวชไปอยู่อีก ๕ ชั้น ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร จนกว่าวิญญาณอัตตานี้จะบริสุทธิ์ แล้ววิญญาณอัตตานั้นก็จะเข้าโมกษะ (นิรวาณ) ไม่ต้องไปเกิดอีกต่อไป ส่วนศาสนาคริสต์ อิสลาม สอนว่าเมื่อตายแล้ววิญญาณอัตตานั้นไม่ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ แต่จะรอพระเจ้าอยู่ที่หลุมฝังศพ จนกว่าจะถึง วันโลกาวินาศ (the Doomsday) พระเจ้าจะมารับวิญญาณมนุษย์ไปอยู่กับพระเจ้าบนสวรรค์ ถ้าผู้ใดยังมีบาปอยู่แต่มีศรัทธาในพระเจ้าๆ ก็จะล้างบาปให้ด้วยไฟชำระบาป แล้วส่งวิญญาณขึ้นสวรรค์ ไม่ต้องตายอีกต่อไปเป็นชีวิตนิรันดร แล้วโลกก็จะแตกทำลาย ความเชื่อที่เป็นสมมุติสัจจะเช่นนี้ เมื่อสอนติดต่อกันนานๆ เข้าก็กลายเป็นพิธีกรรมและประเพณีท้องถิ่น ซึ่งทั่วโลกสอนไม่เหมือนกัน แม้แต่ในประเทศเดียวกันก็มีความเชื่อไม่เหมือนกัน จึงไม่ใช่ สัจธรรมสากล (Universal truth) เป็นเพียง สมมุติสัจจะ (Convention truth) เท่านั้น ไม่ใช่ ปรมัตถสัจจะ (Absolute truth) วิญญาณตัวรู้ เป็นคำสอนของลัทธิศาสนาแบบเทวนิยมและวิญญาณนิยม ไม่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาซึ่งเป็นสัจนิยม (Realism)
การสอนผิดๆ ว่าวิญญาณเป็นอัตตาได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพุทธกาล ดังมีหลักฐานอยู่ในมหาตัณหาสังขยาสูตร ไตร.เล่ม๑๒ เรื่องมีอยู่ว่า พระสาติ เกวัฏฏบุตร เป็นบุตรของชาวประมง เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วไม่เข้าใจ ยังเชื่อว่าวิญญาณเป็นอัตตาอยู่ แล้วเที่ยวสอนประชาชนว่า เรารู้แล้วว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าวิญญาณเป็นอัตตา วิญญาณนั่นแหละ ที่พูดได้ คิดได้ ที่นำเอากรรมดี กรรมชั่ว ไปเกิดในชาติหน้าได้ พระสาวกอื่นและพระอรหันต์ พากันตักเตือนว่า พระสาติอย่าสอนอย่างนั้นเลย พระพุทธองค์มิได้สอนอย่างนั้น แต่พระสาติไม่เชื่อฟัง ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ได้เรียกพระสาติเข้าไปเฝ้าท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ พระองค์ตรัสถามว่า สาติ เธอสอนอย่างนั้นจริงหรือ ตอบ จริงพระพุทธเจ้าข้า ถาม วิญญาณของเธอหมายถึงอะไร ตอบ คือสิ่งที่คิดได้ พูดได้ และนำกรรมดี กรรมชั่วไปเกิดในชาติหน้าได้ พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนสาติ เราไม่เคยสอนเช่นนั้นเลย เธออย่ากล่าวตู่เรา การสอนเช่นนั้น เป็นบาปไม่ใช่บุญ การสอนเช่นนั้น เป็นโทษไม่เป็นประโยชน์เลย เธออย่าได้สอนเช่นนั้นอีก พระสาติ ก้มหน้าเก้อเขินในที่ประชุมสงฆ์ จากนั้นพระองค์ก็ทรงแสดงวิญญาณ ๖ อย่างละเอียด แต่ในปัจจุบันนี้ พระภิกษุที่เป็นลูกศิษย์สาวกพระสาติ สอนว่าวิญญาณเป็นอัตตาซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ (สัสสตทิฏฐิ Eternalism) มีมากมายเหลือเกิน ส่วนที่สอนถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ วิญญาณังอนิจจัง วิญญาณังอนัตตา ตามแบบที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นไม่ค่อยมี คำสอนให้เชื่อเรื่องดวงวิญญาณเป็นจุดขายสำคัญของทุกศาสนารวมทั้งในพุทธศาสนาบางนิกายด้วย ดวงวิญญาณไม่มีในพุทธศาสนาที่แท้จริง และไม่ใช่สัจธรรม เป็นเพียงจินตนาการของมนุษย์เท่านั้น
เรื่องวิญญาณอัตตา หรือ ดวงวิญญาณ ไม่ใช่คำสอนในพุทธศาสนา แต่ก็มีผู้พยายามนำเข้ามาปะปนในพุทธศาสนาเป็นสัทธรรมปฏิรูป (คำสอนเทียมที่เกิดขึ้นใหม่) อยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปของพิธีกรรมศีลธรรมและนิทานชาดก (นิยมจัดงานเทศน์มหาชาติอย่างใหญ่โต) ตลอดจนถึงเรื่องนรกสวรรค์ที่ลอกแบบมาจากคัมภีร์ปุรณะและมารกัณเทยยะของพราหมณ์ ซึ่งเกิดก่อนพุทธศาสนาประมาณ ๑,๐๐๐ ปี เป็นคำสอนอยู่ในส่วนของโลกียธรรมหรือธรรมะในระดับพิธีกรรมและศีลธรรมเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงระดับเปลือกและกระพี้ เท่านั้น ในปัจจุบันไม่มีการสอนเรื่องโลกุตรธรรมเลย ทำให้พุทธบริษัทเกิดความสับสนอยู่ในทุกวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามเราก็จะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ถ้าได้ศึกษาในทางที่ถูกต้องรู้จักประวัติศาสตร์ และรู้จักเลือกเฟ้นธรรม ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (Truth investigation)
“เรียนประวัติอย่างมนุษย์พุทธเจ้า
คือต้นเค้าพุทธแท้ไม่แปรผัน
พราหมณ์เข้าแปลงแต่งเติมเสริมนานวัน
แล้วเรียกกันใหม่ว่ามหายาน
มหายานขนานนามตามชื่อพุทธ
เรียกว่าบาปบริสุทธิ์คงจะได้
ไม่มีเค้าเก่าเหลือสิ้นเยื่อใย
พราหมณ์แต่งเติมตามใจใช้อัตตา
ให้วิญญาณเวียนวนคนเกิดตาย
ผิดความหมายตรัสรู้ดูไร้ค่า
ไม่เข้าใจอริยสัจ อนัตตา
ถอนอุปาทานขันธ์ห้าไม่ได้เอย” (พล.ต.เดช ตุลวรรธนะ)
พุทธศาสนาในประเทศไทย ไทยได้รับพุทธศาสนาส่วนใหญ่มาจากลังกาในสมัยสุโขทัยเรืองอำนาจเมื่อประมาณ ๗๐๐ มาแล้ว เป็นพุทธศาสนาที่สืบเนื่องมาจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๔๕๐ ที่อาโลกณสถานมลัยชนบท เมืองอนุราชปุระ ลังกา พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย เป็นผู้อุปถัมภ์ ประชุมพระภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป มีพระพุทธทัตตเถระเป็นผู้ถาม และมีพระมหาติสสเถระเป็นผู้ตอบ ได้มีการจารลงใบลานเป็นภาษาสิงหล เป็นการบันทึกคำสอนในพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกของโลก ในสมัยนี้ยังไม่มีอภิธรรมมัตถสังคหะ เพราะพระอนุรุทธเถระพระลังกา ผู้แต่งอภิธรรมยังไม่เกิด อภิธรรมแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๙๕๐ เอามาผนวกกับพระสูตร พระวินัย กลายเป็น ไตรปิฎก ในสมัยของพระเจ้าปรักกรมพาหุ ตรงกับสมัยสุโขทัย พระราหุลเถระพระลังกาได้นำเข้าเมืองไทยที่นครศรีธรรมราช ตั้งสำนักอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ.๑๘๐๐ มีการส่งพระไปตั้งสาขาที่วัดอรัญญิก เผยแผ่อยู่ที่กรุงสุโขทัย พุทธศาสนาในสมัยนี้เป็นพุทธศาสนาที่ไม่ใช่เถรวาทแท้ แต่เป็นเถรวาทกลายพันธุ์ในลังกา เถรวาทแท้อยู่ได้หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานประมาณ ๑๐๐ ปี พระพุทธเจ้าเรียกว่า พระธรรมวินัย ไม่มีอภิธรรม สมัยนั้นหลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๒ พุทธศาสนาแตกเป็นนิกายต่างๆ ๑๘ นิกาย เป็นฝ่ายเถรวาท(หินยาน) ๑๒ นิกาย ฝ่ายอาจารยวาท (มหายาน) ๖ นิกาย เถรวาทในประเทศไทยปัจจุบัน คือนิกายสรวาทิน เป็นหนึ่งใน ๑๒ นิกาย ซึ่งเป็นคำสอนที่มีคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปนถึง ๖๐ % มีทั้งวิญญาณนิยม ไสยศาสตร์ เทวนิยม และยังมีมหายานนิกายต่างๆ เช่นคุยหยาน รหัสยาน มนตรยาน วัชรยาน สุขาวดี จีนนิกาย อานัมนิกาย ปะปนกันอยู่จนยากที่จะแยกออกจากกันได้ ในวัดพุทธวัดเดียวอาจจะมีรูปเคารพของนิกายต่างๆ พระพรหม (ถ้ามีหน้าเดียวคนทำบุญ ๑ ครั้ง ถ้ามี ๔ หน้าคนทำบุญ ๔ ครั้ง ได้มากกว่ามีหน้าเดียว ๔ เท่า) พระพิฆเนศร์ พระราหู (อสูรหัวขาด) เจ้าแม่กวนอิม รวมทั้งเทพเจ้าต่างๆ ในศาสนาพราหมณ์ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อหารายได้เข้าวัดให้มากที่สุดนั่นเอง แต่ต้องแลกกับการทำลายพุทธศาสนาที่แท้จริงให้หมดไปจากเมืองไทย และปิดบังไม่ให้ประชาชนชาวไทยได้พบกับพุทธศาสนาที่แท้จริง พุทธศาสนาแท้ในประเทศไทยในปัจจุบันนี้จึงเหลืออยู่ไม่ถึง ๑% นอกนั้นเป็นของเทียม
การพบเห็นพระภิกษุทำพิธีไสยศาสตร์ หรือทำอะไรแปลกๆ ที่ไม่น่าศรัทธา หรือเพิ่มความงมงายให้แก่ประชาชน อย่าได้เข้าใจผิดว่านั่นเป็นพุทธศาสนา พุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นไม่สอนหลอกลวงประชาชน ไม่ทำนาบนหลังคน ไม่ขูดรีดประชาชน ไม่ตัดเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง (เอาเงินคนจนไปให้คนรวย) อย่างที่เห็นกันอยู่ พระพุทธเจ้าสอนว่าให้ไปสอนประชาชนให้เกิดปัญญาดับทุกข์ด้วยความเมตตา โดยไม่เห็นแก่ลาภสักการะ แต่ปัจจุบันสอนศาสนาเป็นธุรกิจทำการค้าพุทธพาณิชย์กันอย่างกว้างขวางและครบวงจรกันอย่างเปิดเผย ไม่เสียภาษี และไม่ผิดกฎหมาย นักบวช (ปลอมบวช) จึงร่ำรวยด้วยการมีอาชีพเป็นนักบวชทำกันอย่างเปิดเผย และในสังคมไทยพระรวยคนรวยคนมีอิทธิพลทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด
พุทธศาสนาได้เกิดขึ้นโดยปัญญาสูงสุดของมนุษย์ ท่ามกลางการค้นคว้าหาสัจธรรมของมนุษย์ ในสมัยพุทธกาล ศาสนาที่พัฒนาสูงสุดคือศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาประเภทเทวนิยม พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์คนแรกในโลกที่ค้นพบ ศาสนาสัจนิยม (Realism) มีหลัก อนัตตา ที่ช่วยให้มนษย์หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสได้ เป็นศาสนาที่ใช้ปัญญาสูงสุดของมนษย์แล้ว ไม่มีศาสนาใดๆ ที่จะใช้ปัญญาของมนุษย์ได้มากกว่าพุทธศาสนาไม่ว่า ศาสนานั้นจะเกิดก่อนหรือเกิดหลังพุทธศาสนาสักที่ร้อยกี่พันปีก็ตาม ศาสนาพุทธมีคำสอนที่เป็นปรมัตถสัจจะ เป็นโลกุตรปัญญา เป็นปัญญาอันสูงสุด (Ultimate Wisdom) ของมนุษย์ การที่มีผู้คิดคำสอนใหม่ๆ เพื่อตั้งลัทธิศาสนาใหม่ จะล้วนแต่ถอยหลังเข้าคลองทั้งนั้น จะก้าวหน้ากว่าพุทธศาสนาไปไม่ได้เลย ดังคำกล่าวของท่าน อัลเบิร์ท ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก กล่าวว่า “If there is any Religion, that would cove with modern sciencetific need.It would be Buudhism”. แปลว่า “ถ้าจะมีศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่สนองตอบความต้องการของมนุษย์ ในยุคที่วิทยาศาสตร์เจริญสูงสุด ศาสนานั้นก็คือพุทธศาสนา” และเพราะคำสอนของพุทธศาสนาเป็นสัจธรรม พุทธศาสนาจึงดำรงอยู่ได้นาน ๒,๖๐๐ ปี ยังไม่มีนักปราชญ์คนใดคัดค้านได้ พวกเราโชคดีนักหนาที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยได้พบพุทธศาสนา อย่าให้โอกาสทองผ่านเลยไป เจ้าชายสิทธัตถะรู้อะไรจึงทำให้พระองค์พ้นทุกข์ เราจะต้องรู้ให้ได้ภายในชีวิตปัจจุบันนี้
ชาวพุทธจะต้องรู้ว่า ธรรมะมี ๒ ระดับ คือ
๑.ระดับศีลธรรม (Morality) ได้แก่เรื่องพิธีกรรม และศีลธรรม มีจุดหมายให้คนเป็นคนดี ใช้หลักอัตตา ไม่ได้ถอนอุปาทาน อยู่ในส่วนของโลกียธรรม
๒.ระดับปรมัตถธรรม (Absolute truth) ได้แก่เรื่องจริงที่เป็นกฏของธรรมชาติ มีจุดหมายให้คนพ้นทุกข์ ถอนอุปาทาน อยู่ในส่วนของโลกุตรธรรม
ธรรมะ ๒ ประเภท คือ
๑. โลกียธรรม (Mundane states) คือ ธรรมะที่ยังข้องอยู่ในความทุกข์ ใช้หลักอัตตา (Self ; Egoism) ทำให้เป็นคนดีที่ไม่มั่นคง (ปุถุชน) มีศรัทธา ไม่ได้ถอนอุปาทาน ยังมีอวิชชา ยังมีความงมงาย ดับทุกข์ไม่ได้
๒. โลกุตรธรรม (Supra Mundane states) คือ ธรรมะที่เหนือความทุกข์ ใช้หลัก อนัตตา (No self ; No concept I) ทำให้เป็นคนดีที่มั่นคง เป็นอริยบุคคล มีเหตุผล ถอนอุปาทานได้ ดับอวิชชาได้ พ้นความงมงาย ดับทุกข์ได้ ในชีวิตปัจจุบัน
ในปัจจุบันนี้ชาวพุทธไทยเข้าใจผิดเรื่อง วิญญาณ เป็นกันจำนวนมาก รวมทั้งสำนักวิปัสสนา และนำนักสอนปฏิบัติธรรมต่าง ๆ ส่วนมากจะสอนอย่างนี้ จึงดับทุกข์ไม่ได้ ผู้สอนพุทธศาสนาในประเทศไทยสอนอย่างนี้ ประมาณ ๙๙% นี่คือภัยภายในของพุทธศาสนา คนไทยส่วนมากจึงเข้าถึงแก่นพุทธศาสตร์ไม่ได้ ยังติดอยู่ที่เปลือกกระพี้ นิทาน ยังมีความเชื่องมงายไร้เหตุผล ทำให้ดับทุกข์ไม่ได้
ผี พราหมณ์ พุทธ
เราเชื่อผีจึงรับนับถือผี มีผีดีผีร้ายผีหลายเหล่า
ทั้งผีสางคางแดงผีแฝงเงา และผีเรือนผีเหย้าเฝ้าอารักษ์
ครั้นพราหมณ์เข้าเป่าสังข์ประดังศัพท์ จัดลำดับชั้นผีมีความหมาย
มีนรกมีสวรรค์พรรณราย อธิบายให้เห็นเป็นตัวตน
เราเชื่อผีจึงรับนับถือพราหมณ์ เพราะนิยามความหมายให้กับผี
ผีกับพราหมณ์สัมพันธ์เป็นอันดี เพิ่มน้ำหนักไปที่มีอัตตา
สงสารพุทธดุจดังพระสังข์น้อย อาศัยหอยสังข์พราหมณ์เที่ยวตามหา
สาธุชนคนที่มีปัญญา ต่อยเปลือกหอยเห็นค่าพระสัทธรรม
พุทธกับพราหมณ์ดำรงคงความเชื่อ เป็นเปลือกรักษาเนื้ออยู่นานฉนำ
คนเห็นเปลือกติดเปลือกแบกเปลือกนำ ไม่เห็นเนื้อเป็นน้ำในภายใน
นับถือพุทธแบบพราหมณ์ตามด้วยผี จนกาลีผีบ้าเข้าอาศัย
ตื่นเสียที ตื่นตนเถิดคนไทย ช่วยกันไล่ผีปอบที่ครอบพุทธ
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรท์
การเข้าใจผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เรื่อง วิญญาณ ในพุทธศาสนา จะทำให้เข้าใจผิดเรื่องสำคัญในพุทธศาสนาอีกหลายเรื่อง เช่นเรื่อง กรรม เรื่องนรกสวรรค์ เรื่องวัฏฏสงสาร เรื่องการระลึกชาติ เรื่องการกลับชาติมาเกิด เรื่องการเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ เรื่องสิ้นภพสิ้นชาติ เรื่องนิพพาน ฯลฯ ทำให้การปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ผิดพลาดตามไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ทำสมถะ วิปัสสนา ผิดพลาดหมด อริยมรรคก็จะกลายเป็นมิจฉามรรคไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้เพราะสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก) เป็นหัวหน้า เมื่ออริยมรรคมีความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิเป็นหัวหน้า มรรคอีก ๖ องค์ที่ตามมาก็เป็นมิจฉาไปทั้งหมด เมื่อทางผิดจุดหมายก็ผิดตาม เมื่อปริยัติผิด ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็ผิดตาม สัมมาทิฏฐิ สำคัญที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “สัมมาทิฏฐิ สมาทานา สัพพังทุกขัง อปัจจคุง” แปลว่า “จะดับทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยสัมมาทิฏฐิ” และสัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเหตุ ๓ ประการ ดังนี้
๑.กัลยาณมิตร (Giving good friend) ผู้รู้ถูก
๒.ปรโตโฆษะ (Another’s utterance) เสียงของผู้รู้ถูก
๓.โยนิโสมนสิการ (Reasond attention) พิจารณาด้วยปัญญาตนเอง
ที่ไหนและเมื่อไร? มีเหตุ ๓ อย่างนี้ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกก็จะเกิดขึ้นที่นั่นและเมื่อนั้น เหตุ ๓ อย่างนี้ เรียกว่า โสดาปัตติยังคะ พวกเรามีกันแล้วยัง? ถ้าไม่มีก็ทำให้มีเสีย จะเปิดประตูนิพพานให้ตนเอง การสอนวิญญาณเป็นอัตตา วิญญาณเป็นดวงวิญญาณ ล่องลอยได้หลังตายแล้ว ในพุทธศาสนา คือการสอนศาสนาพราหมณ์ในนามของพุทธศาสนานั่นเอง นักปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาจะต้องยึดหลัก อนัตตา ซึ่งเป็นหลักสำคัญของพุทธศาสนาซึ่งไม่มีอยู่ในศาสนาใดๆ ในโลก ไว้ให้มั่นคง ก็จะป้องกันความผิดพลาดและหลงทางได้ จะได้นำเรื่องเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป
ข่าวด่วน! เรียนโลกุตรธรรมวันอาทิตย์ ฟรี เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. อาหาร กาแฟ หนังสือ ซีดี.ฟรี ที่กุฏิ ๒๐ วัดกระโจมทอง ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ติดต่อสมัครได้ที่พระอาจารย์เมธา ชาตเมโธ โทร.๐๘-๑๔๗๖-๑๔๕๕
ทางอินเตอร์เน็ตเปิด Google ค้นหาคำว่า ศูนย์โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทย บอกต่อๆ กันไปด้วยได้บุญมาก เจริญพร (๒๒ เม.ย.๒๕๕๖)
วัตถุประสงค์ของ ศูนย์โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของศูนย์โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทย
๑.เผยแผ่พุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ปราศจากสัทธรรมปฏิรูปก์ และสิ่งปนเปื้อนบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า เนื่องจากคติความเชื่อของลัทธิศาสนาอื่นปะปนเข้ามาหลายครั้งตามกาลเวลาที่ผ่านมายาวนาน
๒.เผยแผ่ความจริงของสิ่งปนเปื้อน ว่ามาจากไหน เป็นลัทธิศาสนาใด เข้ามาปะปนกับพุทธศาสนาเมื่อใด เพื่อให้ชาวพุทธได้ทราบความจริงและใช้สติปัญญา เปรียบเทียบตามหลักกาลามสูตร หลักอริยสัจสี่ และหลักอนัตตา เกิดศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ เลิกงมงายกับสิ่งที่เหลวไหลหลอกลวง
๓.เผยแผ่ธรรมะที่บริสุทธิ์ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และนำมาสั่งสอนพุทธบริษัท ให้ดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ในชีวิตปัจจุบัน โดยการลดละอวิชชา กิเลสตัณหา อุปาทาน จนกว่าจะหมดสิ้น ก็จะพบกับความสะอาด สว่าง สงบเย็น เป็นนิพพานตามหลักอริยสัจอนัตตา ได้ในชีวิตนี้ โดยไม่ต้องรอชาติหน้าซึ่งเป็นเรื่องจินตนาการของมนุษย์
๔.ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนาและพุทธบริษัท ให้พ้นภัยจากพวกอัญญเดียรถีย์ และผู้ที่แอบอ้างคติความเชื่อของลัทธิศาสนาอื่น ว่าเป็นพุทธศาสนา เพื่อหาประโยชน์จากลาภสักการะ ทำมาหากินบนหลังประชาชนที่มีศรัทธาแต่ขาดปัญญา
๕.เผยแผ่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ของลัทธิศาสนาต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก เพื่อที่ชาวพุทธจะสามารถเปรียบเทียบและแยกแยะลัทธิอื่น เช่นไสยศาสตร์ วิญญาณนิยม เทวนิยม วัตถุมงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกจากพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ได้ โดยไม่หลงผิดลัทธิศาสนาอื่นว่าเป็นพุทธศาสนาอีกต่อไป
๖.เผยแผ่พุทธธรรม ชี้นำธรรมถูกต้อง ปกป้องพุทธศาสนา ชาวพุทธทุกคนมีหน้าที่จะต้องช่วยกันกอปกู้และสืบต่ออายุพุทธศาสนาที่แท้จริงให้ยั่งยืนสถาพรสืบไป
พระอาจารย์เมธา ชาตเมโธ ศูนย์โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทย
สอนฟรีทุกวันอาทิตย์ ๑๓.๐๐ น.- ๑๗.๐๐ น. ติดต่อสมัครเรียนได้ที่ คุณโยมพวงศรี ธานีโต
โทร. 08-0124-8235
คำประกาศต่อชาวโลก ปี ๒๕๕๖ ศูนย์ศึกษาและเผยแผ่โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทย
คำประกาศต่อชาวโลก ปี ๒๕๕๖
ศูนย์ศึกษาและเผยแผ่โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทย (ศผลท.)
ศูนย์ศึกษาและเผยแผ่โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทย (ศผลท.)
โลกมนุษย์ทุกวันนี้กำลังร้อนอยู่ด้วยไฟคือ กิเลส ศัตรูของมนุษย์มิใช่มนุษย์ด้วยกันเอง แต่มันคือกิเลสในใจมนุษย์ เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ความทุกข์ส่วนบุคคล ความทุกข์ของสังคม และความทุกข์ของโลก ที่มนุษย์ต้องทำสงครามฆ่าฟันกันอยู่ในทุกวันนี้ ก็เกิดมาจากกิเลส และถ้ามนุษย์กำจัดกิเลสไม่ได้ สงครามนิวเคลียร์ก็จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ โลกจะพินาศ มนุษย์จะสิ้นเผ่าพันธุ์ ที่มนุษย์เป็นทุกข์ไม่ใช่เพราะพระเจ้าลงโทษ มนุษย์ทำอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาเอง แล้วควบคุมมันไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ทั้งสิ้น อย่าไปโทษพระเจ้า ฉะนั้นการพิทักษ์โลกจึงเป็นหน้าที่ของชาวโลกทุกคน เรียนผูกแล้วต้องเรียนแก้ ปัญหาของมนุษย์ๆ จะต้องเป็นผู้แก้ ศูนย์วิจัยขององค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ทราบแล้วว่า สงครามเริ่มต้นมาจากจิตใจของมนุษย์ ที่องค์การสหประชาชาติทำงานเพื่อหยุดยั้งสงครามและรักษาสันติภาพด้วยวิธีทางการเมืองและกำลังทหาร มาครบรอบ ๖๗ ปีแล้ว ยังไม่อาจจะหยุดยั้งสงครามได้นั้น ก็เพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด การใช้กำลังอาวุธไม่สามารถสร้างสันติภาพได้ จึงหันมาพึ่งศาสนา ได้เชิญผู้นำศาสนาทั่วโลกมาประชุม พบว่าในพระพุทธศาสนามีคำสอนที่เป็น สัจธรรมสากล (Universal truth) ที่สามารถยับยั้งสงครามและรักษาสันติภาพของโลกได้ ที่ประชุมจึงลงมติประกาศให้ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก (๑๕ ธ.ค.๒๕๔๒) เป็นความภูมิใจของชาวพุทธทั่วโลก มีวิธีเดียวเท่านั้นที่จะป้องกันสงครามนิวเคลียร์ล้างโลกได้ นั่นคือชาวโลกทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติและศาสนาใด จะต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ร่วมใจสามัคคีกัน ศึกษาและปฏิบัติใน โลกุตรธรรม (Super mundane states) ซึ่งเป็น ปรมัติสัจจะ (Absolute truth) เป็นศาสนาของโลก เพื่อยกระดับของมนุษย์ให้เป็น พระอริยบุคคล (Holy persons) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ฮินดู ซิกส์ บาไฮ ฯ ก็เป็นมนุษย์ที่อยู่ใน กฏธรรมชาติ (Natural law) เช่นเดียวกันทั้งสิ้น
เมื่อทำให้มนุษย์มีความเห็นถูกมากขึ้นแล้ว ความเห็นแก่ตัวก็จะลดลง พลังแห่งธรรมานุภาพและความเห็นถูกก็จะช่วยให้โลกและมนุษย์รอดปลอดภัยจากสงครามนิวเคลียร์ล้างโลก และนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในทางสันติ มนุษย์จะมีวัตถุปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตอย่างอุดมสมบูรณ์ วิทยาศาสตร์ทำให้สามารถผลิตอาหารเลี้ยงมนุษย์ทั้งโลกได้อย่างเพียงพอ
ธรรมะนั้นมี ๒ ระดับ คือ ๑.โลกียธรรม ๒.โลกุตรธรรม
ธรรมะที่จะช่วยให้โลกและมนุษย์ปลอดภัยได้นั้นคือ โลกุตรธรรม ซึ่งมีพร้อมสมบูรณ์อยู่แล้วในพระพุทธศาสนา แต่ในเมืองไทยมีการศึกษาโลกุตรธรรมน้อยมาก เราจึงต้องก่อตั้งศูนย์ศึกษาและเผยแผ่โลกุตรธรรมแห่งประเทศไทย (ศผลท.) ขึ้น เมื่อปี ๒๕๓๖ เป็นเวลา ๒๐ ปีแล้ว มีสำนักงานอยู่ ๒ แห่งคือ ๑.ศูนย์โลกุตรธรรมกรุงเทพ มูลนิธิ ผชป.๖๘/๔ ตรอกเสถียร ถ.ตะนาว เขตพระนคร กทม. ๒.ศูนย์โลกุตรธรรมนนทบุรี กุฏิ ๒๐ วัดกระโจมทอง ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี การศึกษาและปฏิบัติในโลกุตรธรรม จะทำให้ได้อานิสงส์ ๔ ประการคือ ๑.ได้สันติสุขส่วนบุคคล คือ นิพพานสุข ๒.ได้สันติภาพส่วนสังคม คือสังคมที่ปราศจากอบายมุขและมีศีลธรรมมั่นคงอย่างยิ่ง ๓.ช่วยให้เกิดสันติภาพของโลก ป้องกันสงครามนิวเคลียร์ล้างโลก (สงครามโลกครั้งที่๓) ๔.ช่วยกู้พระพุทธศาสนาที่แท้จริงกลับคืนมาคู่ชาติไทยและคู่โลกตลอดไป
ปัจจุบันชาวพุทธไทยเป็นพุทธแท้ไม่ถึง ๕% และผู้ที่สามารถสอนพุทธศาสนาได้ถูกต้องมีไม่ถึง ๑% ชาวพุทธต้องเสียสละและสามัคคีกันกู้พุทธศาสนาที่แท้จริงกลับคืนมาโดยเร็ว ท่านผู้ใดสนใจที่จะศึกษาโลกุตรธรรม เนื้อแท้คำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็น ศาสนาสากล(Universal truth) เรียนโลกุตรธรรมฟรีทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๓.๐๐ น.ที่กุฏิ ๒๐ วัดกระโจมทอง ติดต่อได้ที่ พระอาจารย์เมธา ชาตเมโธ (ประธาน ศผลท.) โทร.๐๘-๑๔๗๖-๑๔๕๕ หรือสอบถามได้ที่ นายบริหาร เอกวงศ์ โทร.๐๘-๑๔๕๓-๖๘๓๑ และ น.ส.พวงศรี ธานีโต (หัวหน้าชั้น) โทร.๐๘-๐๑๒๔-๘๒๓๕
รับบรรยายธรรม,ปาฐกถาธรรม หลักพุทธศาสตร์ พุทธประวัติและโลกุตรธรรม นอกสถานที่ฟรีเมื่อมีกลุ่มผู้ฟัง ๒๐ คนขึ้นไป เจ้าภาพเพียงแต่รับผิดชอบเรื่องสถานที่ประชุม รับส่งพระวิทยากร เมืองไทยพุทธเพี้ยนเต็มบ้านเมือง ความเท็จกำลังขายดี พุทธแท้ไม่ต้องรอรับผลหลังตาย และดับทุกข์ได้ในชีวิตนี้ หาฟังได้ยากในประเทศไทย เจริญพร.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)